1. ดัชนีรายได้เกษตรกร
ภาพรวมรายได้ของเกษตรกร วัดจากดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนมีนาคม 2561อยู่ที่ระดับ 173.67 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2560 ร้อยละ 3.78 เป็นผลมาจากดัชนีราคาปรับตัวลดลงร้อยละ 8.48 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สุกร และไข่ไก่ ในขณะที่ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.14 โดยสินค้าสำคัญที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้ายางพารา หอมแดง สุกร และไก่เนื้อ
ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร(%YoY)
         
 
รายการ 2559 2560 2560 2561
ครึ่งปีแรก ครึ่งปีหลัง ไตรมาส 1 กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน (p)
รายได้เกษตรกร 3.28 2.74 15.01 -5.50 -4.83 -6.96 -3.78 0.94
ผลผลิตสินค้าเกษตร 0.04 5.66 9.19 3.13 8.49 7.71 5.14 10.71
ราคาสินค้าเกษตร 3.24 -2.76 4.43 -9.63 -12.27 -13.63 -8.48 -8.82
 
หมายเหตุ : %YoY คือ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา, p คือ preliminary (ตัวเลขเบื้องต้น)            
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
 
ภาพที่ 1 แสดงดัชนีรายได้ ราคา และผลผลิตสินค้าเกษตร

ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


 
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร
2.1 ภาพรวมราคาสินค้าเกษตร วัดจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา เดือนมีนาคม 2561
อยู่ที่ระดับ 131.80 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2560 ร้อยละ 8.48 ซึ่งลดลงในหลายกลุ่มสินค้า และเมื่อเปรียบเทียบกับ
เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66
ภาพที่ 2 แสดงดัชนีราคาสินค้าเกษตรรายเดือน1
ปี 2558-2561


หมายเหตุ :1ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรายเดือน หมายถึง ตัวชี้วัดภาพรวมระดับราคาสินค้าเกษตรรายเดือน
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
 
เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
          - ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ตลาดมีความต้องการข้าวในทิศทางที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่งออกมีความต้องการข้าว เพื่อเตรียมการส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า
- มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลผลิต
ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ
มันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกน้อยลงในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก รวมทั้งผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น
 
2
สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
- ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณ
สต๊อกน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง
- ยางพารา ราคาลดลงเนื่องจากความต้องการซื้อภายในประเทศลดลง ประกอบกับจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อหลักมีสต๊อกยางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สุกร ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตมากกว่าความต้องการ ขณะที่การค้าชะลอตัวจากโรงเรียนปิดภาคเรียน
- ไข่ไก่ ราคาลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคยังทรงตัว
 
เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
          - ยางพารา ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากอยู่ในช่วงต้นยางผลัดใบทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย
- มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
          - สุกร ราคาลดลงเนื่องจากตลาดมีความต้องการสุกรน้อยกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด ประกอบกับภาวะการค้ายังทรงตัว
- หอมแดง ราคาลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่อง จากสภาพอากาศ
ที่เอื้ออำนวย
 
2.2 จำแนกตามกลุ่มสินค้า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนมีนาคม 2561 เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาและเดือนที่ผ่านมา
1) กลุ่มธัญพืชและพืชอาหาร
          - เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ12.14 สินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
          - เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.80 สินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
2) กลุ่มไม้ยืนต้น
          - เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาดัชนีราคาลดลงร้อยละ 36.61 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา
          - เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.71 สินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา
3) กลุ่มพืชน้ำมัน
          - เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 35.65สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน
          - เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ดัชนีราคาลดลง ร้อยละ 14.09สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน
4) กลุ่มพืชไม้ดอก
          - เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ56.14 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาดัชนีราคาลดลงร้อยละ 35.36
5) กลุ่มปศุสัตว์ 
          - เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาลดลง ร้อยละ11.70สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่
          - เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ดัชนีราคาลดลง ร้อยละ 3.57 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ สุกร และไก่เนื้อ
6) กลุ่มประมง
- เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 16.15และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.42
 
 
 
 
3
3. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
3
          ภาพรวมการผลิตสินค้าเกษตร วัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนมีนาคม 2561อยู่ที่ระดับ131.77 เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2560 ร้อยละ 5.14 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 2.78
ภาพที่ 3 แสดงดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือน2
ปี 2558-2561

หมายเหตุ :2ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือน หมายถึง ตัวชี้วัดภาพรวมการผลิตสินค้าเกษตรรายเดือน โดยปี 2548 เป็นปีฐาน
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
 
เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
- สินค้าสำคัญที่ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ข้าวเปลือกเจ้า ยางพารา หอมแดง สุกร และไก่เนื้อ
- สินค้าสำคัญที่ดัชนีผลผลิตลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน
เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
          - สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หอมแดง กระเทียม ปาล์มน้ำมันและไข่ไก่
          - สินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา   มันสำปะหลัง และสุกร
 
 
 
 
4
4. แนวโน้มดัชนีรายได้ ราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2561
 
4.1 เดือนเมษายน 2561
แนวโน้มรายได้ของเกษตรกร วัดจากดัชนีรายได้เกษตรกร ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 156.79เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2560 ร้อยละ 0.94 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.71 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ยางพารา สับปะรด เงาะ ลิ้นจี่ สุกร และไข่ไก่ ในขณะที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลง ร้อยละ 8.82 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา สับปะรด ปาล์มน้ำมัน สุกร และไก่เนื้อ
 
4.2 สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตออกมากในช่วงเดือนเมษายน 2561
- ปาล์มน้ำมัน คาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้แนวโน้มดัชนีราคาปรับตัวลดลง
- ไก่เนื้อ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อน เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้นและใกล้เคียงกับปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดส่งผลให้ดัชนี
ราคามีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ไข่ไก่ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาต่างๆปิดภาคเรียน ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่เริ่มมีมากและสะสมส่งผลให้ดัชนีราคามีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
 
4.3 เดือนพฤษภาคม 2561
- ดัชนีรายได้เกษตรกรคาดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
4
- ดัชนีราคา คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2560 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอาทิ ข้าวเปลือกเจ้า ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ไก่เนื้อและสับปะรด