สศท.๖ เดินหน้าประชุมรับรองข้อมูลพืชภาคตะวันออก เป็นเอกภาพ

สศท.๖ เดินหน้าประชุมรับรองข้อมูลพืชภาคตะวันออก เป็นเอกภาพ
              นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ๖จังหวัดชลบุรี (สศท.๖) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยผลการประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออก  ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑  เมื่อวันที่ ๑๘  ตุลาคม 25๖๑ ณ ห้องประชุม สศท.6 ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๖๑  คณะทำงานฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบรับรองข้อมูลเอกภาพระดับอำเภอ/จังหวัดให้กับคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ด้านพืช ไปแล้ว ๑ ครั้ง จำนวน ๔ สินค้า คือสับปะรด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ปี ๒๕๖๐ และข้าวนาปี ปีเพาะปลูก ๒๕๖๐/๖๑ 
     สำหรับในครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อให้การรับรองข้อมูลข้าวนาปรัง มันสำปะหลังโรงงาน เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ ปี ๒๕๖๑ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น1 และรุ่น 2 ปีเพาะปลูก ๒๕๖๐/๖๑ ของภาคตะวันออกรวม ๙  สินค้า ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ให้ความเห็นชอบรับรองข้อมูลดังกล่าวแล้ว  ได้แก่ 
     ๑. ข้าวนาปรังปี ๒๕๖๑ มีจำนวนเนื้อที่เพาะปลูก ๗๗๗,๗๓๕ ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว  ๗๗๓,๙๒๖ ไร่  ผลผลิตรวม ๕๓๒,๑๗๗ ตัน  ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว ๖๘๘ กิโลกรัม (ณ ความชื้น ๑๕ %)   เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๐ เนื้อที่เพาะปลูกลดลงเล็กน้อยร้อยละ ๐.๔๐  เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงจากสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกตกต่ำไม่จูงใจ และมาตรการปรับลดพื้นที่ของรัฐบาล แต่ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๓๖ จากผลผลิตต่อไร่ที่เฉลี่ยสูงขึ้นมาเนื่องจากมีน้ำเพียงพอ ไม่กระทบภัยธรรมชาติและโรคแมลง
      ๒. มันสำปะหลังโรงงานปี ๒๕๖๑ มีจำนวนเนื้อที่เพาะปลูก  ๙๒๑,๐๕๗ ไร่  เนื้อที่เก็บเกี่ยว  ๘๙๕,๑๙๑ ไร่  ผลผลิตรวม ๓,๒๑๔,๔๖๒ ตัน  ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว ๓,๕๙๑  กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๐  เนื้อที่เพาะปลูก  เนื้อที่เก็บเกี่ยว  ลดลงร้อยละ ๑๕.๗๕   ๑๕.๙๙  ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ  ๐.๑๔  ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลงร้อยละ ๑๕.๘๙ เนื่องจากราคาไม่จูงใจจึงปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่นแทนเช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ยูคาลิปตัส  กล้วยไข่  มะม่วงแก้วขมิ้น  ลำไย รวมทั้งพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในร่องสวนยางพารา ลำไย ไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้อีกเพราะต้นไม้โตคลุมพื้นที่  ประกอบกับไม่สามารถปลูกในพื้นที่ป่าสงวนได้  อีกทั้งมีการขยายพื้นที่โรงงานและที่อยู่อาศัยในภาคตะวันออก ทำให้เนื้อที่ปลูกลดลง
       ๓. เงาะปี ๒๕๖๑ มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น  115,975 ไร่  เนื้อที่ให้ผล  112,441 ไร่  ผลผลิตรวม  173,623 ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  ๑,544  กิโลกรัม  เมื่อเทียบกับปี ๒๕60 เนื้อที่ยืนต้นเนื้อที่ให้  ผลผลิตต่อไร่  และผลผลิตรวมลดลงทั้งหมด ลดลงร้อยละ 1.62   0.90  9.02 และ 9.81  ตามลำดับ  สาเหตุจากราคาเงาะไม่จูงใจให้ขยายพื้นที่  เกษตรกรตัดโค่นเพื่อปลูกทุเรียนทดแทน  อีกทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวนช่วงเงาะออกดอกมีฝนตกชะดอกทำให้ดอกเงาะร่วง
       ๔. ทุเรียนปี ๒๕๖๑  มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น  323,205 ไร่  เนื้อที่ให้ผล  268,867 ไร่  ผลผลิตรวม 405,414 ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  ๑,508 กิโลกรัม  เมื่อเทียบกับปี ๒๕60 เนื้อที่ยืนต้นเนื้อที่ให้ผล  เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69    4.33   เนื่องจากราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีติดต่อกันมา
นานหลายปี  และทุเรียนที่ปลูกในปี 2556  เริ่มให้ผลได้เป็นปีแรกเพิ่มขึ้น    ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตรวมลดลงร้อยละ 8.38  และ 4.40  เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในปีนี้แต่ละวันมีทั้งอากาศร้อน  ฝนตก และหนาวเย็น ต้นทุเรียนปรับสภาพต้นไม่ทัน  ทุเรียนออกใบอ่อนแทนการออกดอก และรุ่นที่ออกดอกได้ประสบพายุ ลมฝน ดอกร่วง และสภาพผลทุเรียนไม่สวยได้น้ำหนักเฉลี่ยต่อลูกลดลง ทำให้ผลผลิตรวมลดลง

       ๕. มังคุดปี ๒๕๖๑  มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น  ๒๐2,203 ไร่  เนื้อที่ให้ผล  196,146 ไร่  ผลผลิตรวม  54,476  ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  278 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี ๒๕60 เนื้อที่ยืนต้นลดลงร้อยละ 0.28 เนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.49  ผลผลิตต่อไร่และผลผลิตรวมลดลงร้อยละ 65.34  64.84เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนตลอดมีฝนตกชุก มังคุดออกใบอ่อนแทนการออกดอก ส่วนที่ออกดอกออกประปรายไม่เต็มต้นทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงมาก  ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลงตาม
       ๖. ลองกองปี ๒๕๖๑ มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น  44,302 ไร่  เนื้อที่ให้ผล  42,938 ไร่  ผลผลิตรวม  16,501  ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  384 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี ๒๕60 เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตรวมลดลงทั้งหมดร้อยละ 8.89  6.80  27.00 และ 31.94 ตามลำดับ เนื่องจากราคาลองกองตกต่ำมาหลายปี  เกษตรกรทยอยโค่นต้นทิ้งปรับปลูกทุเรียนทดแทน  เนื่องจากลองกองจะออกดอกได้ต้นลองกองจะต้องขาดน้ำใบสลดเหลือง และสภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนชุกทำให้ลองกองต้นไม่ขาดน้ำจึงออกดอกได้น้อย ส่งผลให้ผลผลิตลดลง
        ๗. ลำไยปี ๒๕๖๑ มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 274,735  ไร่  เนื้อที่ให้ผล  256,900 ไร่  ผลผลิตรวม 348,417 ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  ๑,356 กิโลกรัม  เมื่อเทียบกับปี ๒๕60  เนื้อที่ยืนต้น  เนื้อที่ให้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ  0.77   ๑6.60 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตรวมลดลงร้อยละ 22.87  และ 10.01  ตามลำดับ  เนื่องจากราคาลำไยที่ดีต่อเนื่องมานานหลายปีเกษตรกรปลูกเพิ่ม  จะเริ่มมีปัญหาราคาในช่วงปลายปี 2560 เกษตรกรจึงปรับสลับแปลงต้นที่สมบูรณ์บังคับออกดอก  และพักแปลงลำไยต้นไม่สมบูรณ์เพื่อพักต้น และไม่ให้ผลผลิตออกกระจุกช่วงเดียวกัน อีกทั้งแปลงที่บังคับช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2561  การบังคับไม่ประสบผลสำเร็จมีฝนตกทำให้ลำไยไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ทันในช่วงเดือน ตุลาคม- ธันวาคม 2561 ในแหล่งใหญ่ของจันทบุรี  ทำให้ผลผลิตรวมลดลง
        ๘. ลิ้นจี่ปี ๒๕๖๑  มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 2,193 ไร่  เนื้อที่ให้ผล  1,943 ไร่  ผลผลิตรวม 1,989  ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  1,024 กิโลกรัม  เมื่อเทียบกับปี 2560  เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล  ลดลงร้อยละ  2.01   2.26  ตามลำดับ  เนื่องจากลิ้นจี่ที่เกษตรกรปลูกในจังหวัดจันทบุรี แหล่งเดียว ได้ผลผลิตไม่คุ้มค่าเกษตรกรโค่นต้นไปปลูกทุเรียนทดแทน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่ให้ผล  ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ  88.24   83.83  ตามลำดับ  เนื่องจากปีที่ผ่านๆมาลิ้นจี่ออกผลน้อยได้พักต้นปีนี้จึงให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น
        ๙. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น ๑  ปีเพาะปลูก ๒๕๖๐/๖๑  มีจำนวนเนื้อที่เพาะปลูก  138,042ไร่  เนื้อที่เก็บเกี่ยว  137,237  ไร่  ผลผลิตรวม  106,342 ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  775 กิโลกรัม  เมื่อเทียบกับปี 2559/60  เนื้อที่เพาะปลูก  เนื้อที่เก็บเกี่ยว   ผลผลิตต่อไร่  ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ  19.56   21.36  0.39  21.80  ตามลำดับ  เนื่องจากเกษตรกรปลูกทดแทนมันสำปะหลังที่ราคาตกต่ำ และปริมาณฝนมีเพียงพอไม่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติและโรคแมลงรบกวนจึงได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
        10. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น ๒ ปีเพาะปลูก ๒๕๖๐/๖๑  มีจำนวนเนื้อที่เพาะปลูก  972 ไร่  เนื้อที่เก็บเกี่ยว  902  ไร่  ผลผลิตรวม  641 ตัน  ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว  711 กิโลกรัม  เมื่อเทียบกับปี 2559/60  ไม่มีเนื้อที่เพาะปลูก  เนื่องจากเกษตรกรได้เริ่มเพาะปลูกเป็นปีแรก
         นายสุชัย  กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลที่ผ่านความเห็นชอบและรับรอบของคณะทำงานฯในครั้งนี้จะได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ด้านพืช เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อมูลก่อนนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นข้อมูลเอกภาพของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ต่อไป
 


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari