สศท.8 ร่วมติดตามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายไชยา พรหมา) ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช


            วันที่ 27 กันยายน 2566 นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ร่วมติดตามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายไชยา พรหมา) ในการลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพด้านหม่อนไหมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี​  นางเรืองอุไร บุญช่วยชูพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดให้การต้อนรับและร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมอย่างพร้อม​เพรียง​ ดยรัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​ฯ​ ได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการสนับสนุนยกระดับ​ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยสู่สากล เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีศักย​ภาพ​เป็นซอร์ฟพาวเวอร์ (Soft power) ที่มีเอกลักษณ์ประจำชาติ​ สามารถเพิ่มมูลค่าสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร จะสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ออกแบบดีไซน์นำผ้าไทยไปสู่เวทีระดับโลก เพื่อยกระดับผ้าไหมไทยสู่สากล โดยจะสร้างภาพลักษณ์ของผ้าไหมไทยที่มีอุปสรรค เช่น ใส่แล้วแก่ ใส่แล้วร้อน ดูแลรักษายาก โดยการนำนวัตกรรมสมัยใหม่ มาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยเข้ากับยุคปัจจุบัน​ สอดคล้อง​นโยบายกระทรวงเกษ​ตรและ​สหกรณ์​ที่มุ่งเน้น​ "ตลาดนำ นวัตกรรม​เสริม​ เพิ่มรายได้" 
สำหรับข้อมูลโดยสังเขปของจุดดูงานกลุ่มทอผ้า​  มีดังนี้ 
 - จุดที่ 1 ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกลุ่มทอผ้าบ้านตรอกแค ม.4 ต.ขอนหาด อ.ชะอวด โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้มอบนโยบายและพบปะเกษตรกร พร้อมทั้งมอบหม่อนพันธุ์ดีและพันธุ์ไม้ให้แก่ผู้แทนเกษตรกร  สถานะปัจจุบันของกลุ่มมีจำนวนสมาชิก 37 ราย มีรายได้ประมาณ 2,000,000 บาท/ปี ปริมาณการผลิต 12,000 หลา/ปี  ประเด็นพัฒนาเพิ่มเติมที่กลุ่มต้องการ ได้แก่​ อุปกรณ์​ทอมือ การปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ
- จุดที่ 2 ตรวจติดตามการทอผ้าไหมยกดอกเมืองนคร ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านเนินมวง ม.4 ต.ขอนหาด อ.ชะอวด เพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทานสีเงิน) และการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อผลิตเส้นไหมมาตรฐาน โดยได้เยี่ยมชมกิจการการทอผ้าไหม และพบปะพูดคุยกับสมาชิกกลุ่มทอผ้าอย่างใกล้ชิด สถานะปัจจุบันของกลุ่มมีจำนวนสมาชิก 22 ราย มีรายได้ประมาณ 800,000 บาท/ปี ปริมาณการผลิต 10000 หลา  ประเด็นพัฒนาเพิ่มเติมที่กลุ่มต้องการ ได้แก่ สร้างศูนย์เรียนรู้แบบครบวงจร อาคารสำหรับเลี้ยงไหม โรงสาวไหม เพื่อเป็นอาชีพของคนในชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ที่สนใจ โรงย้อมสีธรรมชาติและอุปกรณ์แบบประหยัดพลังงาน เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินของกลุ่ม และขยายพื้นที่ปลูกหม่อนเพิ่ม


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari