นายธนภัทธ จาวินิจ คนรุ่นใหม่ไฟแรงในฐานะผู้จัดการสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จ.ตราด ได้สละเวลาให้คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร) เข้าสัมภาษณ์

การผลิตแบบครบวงจร ตลอดโซ่อุปทาน และมีคุณภาพ"

14 กุมภาพันธ์ 2562 นายธนภัทธ จาวินิจ คนรุ่นใหม่ไฟแรงในฐานะผู้จัดการสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จ.ตราด ได้สละเวลาให้คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร) ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (ชลบุรี) และผู้แทนสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เข้าสัมภาษณ์เรื่องการบริหารจัดการการผลิตจากการรวบรวมผลผลิตผลไม้ รวมไปถึงระบบโซ่ความเย็น เริ่มจากจำนวนสมาชิก 137 คน ปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวมมากกว่า 700,000 ตัน รายได้หลักมาจากการทำธุรกิจรวบรวม ส่วนมากเป็นเงาะ รองลงมาคือสับปะรด ทุเรียน มังคุด และลองกอง ตามลำดับ ซึ่งมีสัดส่วนของการจำหน่าย ไปห้าง TOPS 70% แปรรูป 20% ผู้ส่งออกในประเทศ 5% และที่เหลืออีก 5% ไปตลาดมหานาค ตลาดไท ไอยรา พิษณุโลก และกัมพูชา ซึ่งในแต่ละปีจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับราคา รวมทั้ง สหกรณ์ยังทำ MOU กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อไปออกร้านในงานต่างๆ อีกด้วย
ขั้นตอนในการบริหารจัดการการผลิตฯ คือ 1. หาวิทยากรมาให้ความรู้ตั้งแต่การให้ความสำคัญกับปัจจัยการผลิตการใส่ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงในสัดส่วนที่พอดีกับความต้องการของพืช การดูแลระหว่างปลูก และออกไปดูสวนก่อนเริ่มปลูก ดูวันขึ้นลูก 2. คำนวณวันเก็บเกี่ยว ดูคุณภาพ 3. แจ้งคุณสมบัติของผลผลิตที่ลูกค้าหรือผู้ซื้อแต่ละรายต้องการ 4. เมื่อมีผู้ซื้อ สมาชิกจะรู้ว่าผู้ซื้อรายนี้ต้องการผลผลิตแบบใด ให้สมาชิกยืมตะกร้า เพื่อนำไปใส่ผลผลิตและนำมาส่งที่สหกรณ์ 5. สุ่มตรวจว่าสมาชิกทำตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่เพียงใด จากนั้นนำไปทำความสะอาด บรรจุ และจัดส่งให้เร็วที่สุด 
ระบบโซ่ความเย็นที่ใช้ อาทิ การเหวี่ยงน้ำ พรมน้ำ คลุมแผ่นฟองน้ำ แช่น้ำแข็ง คลุมพลาสติก คลุมผ้าใบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ปัญหาคือ สมาชิกเก็บผลผลิตเงาะแบบไม่ใช้กรรไกร ยังใช้มือดึงตามความเคยชิน ทำให้ผลผลิตช้ำ และปัญหาเรื่องเงินเพื่อใช้ในการขอมาตรฐาน Globle GAP ในการส่งเงาะไปประเทศสหรัสอเมริกา
ความตั้งใจคือ จะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผลผลิตที่ได้รับมาตรฐาน GAP กับที่ไม่ได้รับมาตรฐาน GAP และสิ่งที่คาดหวังคือ อยากให้สมาชิกให้ความสำคัญกับอนาคตของตนเอง โดยใส่ใจกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน ทั้งปัจจัยการผลิต การปลูก ค่าปุ๋ย ค่ายาที่ใช้ในการดูแลรักษา เทียบกับราคาขายผลผลิตที่ได้รับว่าคุ้มกันหรือไม่มากน้อยเพียงใด เพราะอยากให้สมาชิกมีความสุขกับรายได้ที่ได้รับและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณธนภัทธ เชื่อว่าถ้าสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็จะทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยเช่นกัน