- หน้าแรก
- ประวัติ_สศท.3
ประวัติความเป็นมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3
(History Office OfAgricultural Economics Zone3)
การมีหน่วยงานเขตเกษตรเศรษฐกิจ ในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สืบเนื่องมาจาก สภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติ 19 ต.ค.2515 ให้กระทรวงเกษตร โดย กองเศรษฐกิจการเกษตรในสมัยนั้นพิจารณาแบ่งพื้นที่ประเทศไทยตามอาณาเขตจังหวัดออกเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ จำนวน 19 เขต
(History Office OfAgricultural Economics Zone3)
การมีหน่วยงานเขตเกษตรเศรษฐกิจ ในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สืบเนื่องมาจาก สภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติ 19 ต.ค.2515 ให้กระทรวงเกษตร โดย กองเศรษฐกิจการเกษตรในสมัยนั้นพิจารณาแบ่งพื้นที่ประเทศไทยตามอาณาเขตจังหวัดออกเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ จำนวน 19 เขต
ตาม พ.ร.บ. เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 หมายความถึง เขตการผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมถึงการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดและภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศ โดยคำนึงถึงสภาพที่คล้ายคลึงกันของปัจจัยการผลิต เช่น ดิน ฟ้า อากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ประเภทของเกษตรกรรม และรายได้รายหลักของเกษตรกร ภายหลังได้กำหนดเขตฯดังกล่าวแล้ว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดส่งข้าราชการและลูกจ้างจำนวนหนึ่งไปปฏิบัติงานยังพื้นที่ต่างๆของแต่ละเขตฯ โดยมอบหมายให้ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลธุรกิจฟาร์ม ประมวลข้อมูลจากบัญชีฟาร์ม แล้วจัดส่งให้ส่วนกลางรายงานความเคลื่อนไหวทางการเกษตรเกี่ยวกับ ภาวะการผลิต การตลาด และราคาสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร แล้วจัดส่งข้อมูลดิบให้ส่วนกลาง
ต่อมาในปี 2530 ได้มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงการจัดแบ่งพื้นที่เขตเกษตรเศรษฐกิจ 19 เขต มาเป็น 24 เขต และมีสภาพเป็นหน่วยงานราชการ 24 หน่วยงาน ที่จัดตั้งขึ้นภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็น "ตัวแทน" ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ไปจัดตั้งในส่วนภูมิภาค ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติงบประมาณด้านครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดสร้างสถานที่ทำงานอย่างเป็นการถาวรให้แต่ละเขตฯ รวมทั้งจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งงบประมาณประจำปีจำนวนหนึ่งให้ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิมนอกจากการจัดเก็บข้อมูลการเกษตร คือ การศึกษาวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของสินค้าเกษตรในท้องถิ่น การสำรวจติดตามประเมินผลร่วมกับส่วนกลาง และการประสานแผนพัฒนาการเกษตรระดับจังหวัด รวมทั้งการวิเคราะห์แผนพัฒนาการเกษตรตามสภาพทรัพยากรในพื้นที่
ต่อมาในปี 2530 ได้มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงการจัดแบ่งพื้นที่เขตเกษตรเศรษฐกิจ 19 เขต มาเป็น 24 เขต และมีสภาพเป็นหน่วยงานราชการ 24 หน่วยงาน ที่จัดตั้งขึ้นภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็น "ตัวแทน" ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ไปจัดตั้งในส่วนภูมิภาค ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติงบประมาณด้านครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดสร้างสถานที่ทำงานอย่างเป็นการถาวรให้แต่ละเขตฯ รวมทั้งจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งงบประมาณประจำปีจำนวนหนึ่งให้ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิมนอกจากการจัดเก็บข้อมูลการเกษตร คือ การศึกษาวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของสินค้าเกษตรในท้องถิ่น การสำรวจติดตามประเมินผลร่วมกับส่วนกลาง และการประสานแผนพัฒนาการเกษตรระดับจังหวัด รวมทั้งการวิเคราะห์แผนพัฒนาการเกษตรตามสภาพทรัพยากรในพื้นที่
ดังนั้น จึงจัดแบ่งหน่วยราชการภายในเขตเกษตรเศรษฐกิจ ตามโครงสร้างเดิมในปัจจุบัน จึงประกอบด้วย
1. กลุ่มวิเคราะห์เศรษฐกิจการเกษตร
2. กลุ่มวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
3. งานธุรการ
ต่อมาในปี 2545 ภายใต้ปฏิรูปบริหารราชการแผ่นดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2545 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 นั้น มีผลทำให้การแบ่งส่วนราชการเขตเกษตรเศรษฐกิจซึ่งเดิมมี 24 เขต มาจัดตั้งเป็น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1-9 โดยแต่ละเขตมีฐานะเป็นกอง และหนังสือสำนักงาน กพ. ที่ นร.1009/33 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 เรื่องการกำหนดตำแหน่งโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในตาม โครงสร้างใหม่ ซึ่งประกอบด้วย
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
2. กลุ่มสารสนเทศการเกษตร1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
3. กลุ่มแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร
4. กลุ่มวิจัยและประเมินผล