- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 เม.ย. - 3 พ.ค. 58
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,659 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,323 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,090 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ยางพารา
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ราคายางพารายางแผ่นดิบมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยในช่วงระยะผลัดใบ และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ นอกจากนี้ความต้องการเร่งซื้อยางของผู้ประกอบการเพื่อส่งมอบให้ทันตามกำหนด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือร้อยละ 0.86
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือร้อยละ 0.87
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือร้อยละ 0.88
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.97 บาท เพิ่มขึ้นจาก 21.36 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.61 บาท หรือร้อยละ 2.86
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.06 บาท เพิ่มขึ้นจาก 17.63 บาท ของสัปดาห์ที่แล้ว กิโลกรัมละ 0.43 บาท หรือร้อยละ 2.44
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.35 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.08 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือร้อยละ 0.63
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคายางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และ ยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.20 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.23 บาทหรือร้อยละ 5.75
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.88 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.05 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาทหรือร้อยละ 5.14
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.91 บาท ลดลงจาก 34.84 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.07 บาท หรือร้อยละ 3.07
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.38 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.95 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.43 บาท หรือร้อยละ 6.13
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.80 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.43 บาท หรือร้อยละ 6.26
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.66 บาท เพิ่มขึ้นจาก 34.59 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.07 บาท หรือร้อยละ 3.09
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ณ เดือนพฤษภาคม ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์และตลาดล่วงหน้าโตเกียว มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากการอ่อนค่าของเงินเยน และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากรายงานเชิงบวกของผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ และรัฐบาลจีนเตรียมประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 177.78 เซนต์สหรัฐฯ (57.70 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 170.12 เซนต์สหรัฐฯ (54.72 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.66 เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 4.50
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 212.55 เยน (57.66 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 202.98 เยน (54.34 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.57 เยน หรือร้อยละ 4.72
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.79เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 48.28 บาท เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 63.21 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 45.34 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.66 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.94 บาท
ปาล์มน้ำมัน
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2558 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.381 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.235 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.889 ล้านตัน น้ำมันปาล์มดิบ 0.151 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม 2558 คิดเป็นร้อยละ 55.30 และร้อยละ 55.30 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 25.50 บาท ลดลงจาก กก. 25.85 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.35
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
การส่งออกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในช่วง 25 วันแรกของเดือนเมษายน 2558 เพิ่มขึ้นที่ระดับปริมาณ 904,112 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นของประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญคือจีนและยุโรป และส่งผลให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดมาเลเซียลดลงอยู่ในระดับ 2,109 ริงกิตต่อตัน และคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ต่ำกว่า 2,107 ริงกิตต่อตัน ซึ่งราคาปรับตัวลดลงช่วงเดียวกับเดือนเมษายน 2514
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,101.50 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.66 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,187.92 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 652.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ
(21.43 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 655.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.39 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.30 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณ ไก่เนื้อออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ผลจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ขณะที่ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 38.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.80 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.95 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.88 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.86 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.26
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 254 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 251 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 240บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 255 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.69
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 323 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 318 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 358 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 309 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 301 บาท
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 101.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.87 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 102.37 บาท ภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.73 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคาถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 15.62 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 14.91 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.76
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จากประมาณการการผลิตถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกาว่า ในปีการผลิต 2558-2559 ราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เกษตรกรขายได้จะมีค่าใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิต ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องบริหารจัดการการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนแนะนำแนวทางให้เกษตรกรบริหารจัดการการผลิต ถั่วเหลือง ดังนี้
- ปลูกถั่วเหลืองแบบหมุนเวียน โดยสลับปลูกพืชชนิดอื่น เพื่อลดปัญหาการระบาดของโรคและแมลง
- ลดจำนวนครั้งการไถพรวน เนื่องจากจากการศึกษาวิจัยพบว่าการไถพรวนหลายครั้งไม่ได้ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
- เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรคและแมลง
- เลื่อนระยะเวลาปลูกถั่วเหลืองให้เร็วขึ้น โดยช่วงปลูกที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม
- เพิ่มระยะปลูกถั่วเหลืองให้จำนวนต้นถั่วเหลืองไม่หนาแน่นมาก เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก โดยอัตราที่เหมาะสมควรมีจำนวนประมาณ 120,000 ต้นต่อเอเคอร์ หรือ 48,000 ต้นต่อไร่
- ใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมตามการวิเคราะห์ดิน และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
- เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่จะนำไปปลูกไม่จำเป็นต้องคลุกยากันเชื้อราและยากันแมลงทุกครั้ง (คลุกยาเมื่อมีการระบาดหรือมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการระบาดเท่านั้น)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 979.60 เซนต์ (11.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 974.33 เซนต์ (11.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 319.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 316.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.45 เซนต์ (22.76 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.66 เซนต์ (22.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.66
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยราคากิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.44 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,110.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.99 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,118.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,017.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.98 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,024.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,352.20 ดอลลาร์สหรัฐ (43.85 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,361.40 ดอลลาร์สหรัฐ (43.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.54 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2558 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุซเชลละ 362.40 เซนต์ (4,679 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 374.72 เซนต์ (4,800 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.29 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 121.00 บาท