- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 ต.ค.58
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 19 - 25 ต.ค. 2558
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,630 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,000 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
19 - 25 ตุลาคม 2558
ยางพารา
สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.45 บาท ลดลงจาก 41.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.72
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.95 บาท ลดลงจาก 41.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.73
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.45 บาท ลดลงจาก 40.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.74
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.07 บาท ลดลงจาก 21.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.22
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.54 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.32 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.70
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.69 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.20 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2558
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.73 บาท ลดลงจาก 49.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.68
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.58 บาท ลดลงจาก 47.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.71
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.75 บาท ลดลงจาก 32.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.13
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.48 บาท ลดลงจาก 48.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.69
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.33 บาท ลดลงจาก 47.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.76
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ลดลงจาก 31.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.14
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ณ เดือนพฤศจิกายน ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์และตลาดล่วงหน้าโตเกียว ทิศทางแนวโน้มลดลง เนื่องจาก ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และความวิตกกังวลในเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ทำให้การอุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงยางพาราลดลง รวมทั้งความกังวลเรื่องที่สภาคองเกรสของสหรัฐ อาจไม่อนุมัติเพิ่มเพดานการก่อหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ และมาตรการบริหารเงินฉุกเฉินของสหรัฐฯ จะหมดอายุในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งทำให้รัฐบาลเสี่ยงที่จะขาดแคลนงบประมาณในการบริหารประเทศ
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.10 เซนต์สหรัฐฯ (45.36 บาท) ลดลงจาก 133.80 เซนต์สหรัฐฯ (47.10 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.97 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 1.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.10 เยน (47.41 บาท) ลดลงจาก 162.10 เยน (47.41 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.65 เยน หรือลดลงร้อยละ 0.40
ข่าว 19-25 ต.ค. 58
ฝ้าย
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.52 เซนต์ (กิโลกรัมละ 49.76 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 62.87 เซนต์ (กิโลกรัมละ 49.42 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.34 บาท
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกรยังคงเงียบเหงาราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.68 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.28 ส่วนราคาลูก สุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 65 บาท) ลดลงจากตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 66 บาท ) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.76
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซา ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคยังคงลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 38.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 40.97 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.86 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 41.42 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 9.50 บาท ลดลงจากตัวละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 287 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 298 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 286 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 260 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 21.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 311 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.22
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 343 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 325 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 332 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 105.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 100.24 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 114.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.22 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวรายสัปดาห์ 19-25 ต.ค. 58
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 14.50 บาท ลดลงจาก 15.07 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.78
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 897.40 เซนต์ (11.72 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 903.93 เซนต์ (11.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 310.27 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 315.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.79
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.66 เซนต์ (22.45 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.46 เซนต์ (22.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.94 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวสัปดาห์ 19-25 ต.ค. 2558
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.44 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 30.07
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,165.00 ดอลลาร์สหรัฐ (40.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,162.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.80 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 19 - 25 ต.ค. 58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.39 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 248.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,727 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 249.80 ดอลลาร์สหรัฐ (8,803 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 76.00 บาท
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2558/59ว่ามี 980.79 ล้านตัน ลดลงจาก 988.53 ล้านตันในปี 2557/58 ร้อยละ 0.78 เนื่องจาก สหภาพยุโรป เม็กซิโก ยูเครน มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลก มี 127.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 127.08 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 0.52 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และเมียนมาร์
ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อียิปต์ โคลัมเบีย ไต้หวัน แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย อิสราเอล ชิลี และตูนีเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2558 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 377.00 เซนต์ (5,278 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 380.40 เซนต์
(5,340 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 62.00 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2558/59 |
ปี 2557/58 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
196.03 |
175.88 |
11.46 |
ผลผลิต |
972.60 |
1,008.68 |
-3.58 |
นำเข้า |
127.74 |
127.08 |
0.52 |
ส่งออก |
127.74 |
127.08 |
0.52 |
ใช้ในประเทศ |
980.79 |
988.53 |
-0.78 |
สต็อกปลายปี |
187.83 |
196.03 |
-4.18 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี