สศท.5 ลงพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาสินค้าทางเลือก หม่อนไหม โครงการAgri Map ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค.66

สศท.5 ลงพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาสินค้าทางเลือก หม่อนไหม โครงการAgri Map ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค.66 ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 โดยการนำของ ผอ สุจารีย์ พิชา ผอ.สศท.5 ได้มอบหมายให้ นางอิศราภรณ์ ชัยกุณา ผอ.ส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร พร้อมทีมงานส่วนแผนฯ  ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯชัยภูมิ และ #วิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ นางสาวบัวไข เติมศิลป์ เกษตรดีเด่นแห่งชาติ_สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดีเด่น ประจำปี 2560 เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิต ผลตอบแทน วิถีตลาด และปัจจัยความสำเร็จ พืชทางเลือก หม่อนไหม เพื่อทดแทนพืชหลัก ข้าวและมันสำปะหลัง ที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ในโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก Agri Map : แนวทางพัฒนาสินค้าทางเลือกที่มีศักยภาพเพื่อทดแทนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมปีงบประมาณ2567 เพื่อให้เกษตรกรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนลดความเสี่ยงทางด้านการตลาด  นอกจากนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบ ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการพัฒนา สำหรับการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ รวมถึงเป็นแนวทางสนับสนุน และส่งเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรต่อไป

Regional Office of Agricultural Economics 5 conducted a study on alternative products in Chaiyaphum province. From December 6th to 9th, the Office of Agricultural Economics, Region 5, assigned Ms. Isaraporn Chaiakunna, the head of the Agricultural Economic Development Department, along with her team, to visit Chaiyaphum province. They visited the "Muanmai Chalerm Phra Kiat" Center and the community enterprise for growing silk worms in Huai Bong sub-district, Mueang district, Chaiyaphum province. Ms. Bua-kai Temsin, the Outstanding Farmer in the field of silk worm cultivation for the year 2023, was also present. The purpose of the visit was to study the production costs, returns, market trends, and success factors of alternative crops, particularly silk worms. These alternative crops are intended to replace main crops such as rice and cassava, which are not suitable for cultivation in certain areas. This study is part of the "Agri_Map" project, which aims to manage and promote agricultural production based on agricultural zoning. Its goal is to develop potential alternative products to replace unsuitable crops in the fiscal year 2024. The project aims to provide farmers with comprehensive information to make efficient decisions in selecting agricultural products, reduce production costs, increase income, and minimize market risks. Moreover, the government and other relevant agencies can utilize the study findings to formulate policies, measures, and development strategies for appropriate agricultural product management based on the potential of each area. This will also serve as a guideline to support and enhance the income of farmers in the future.



 


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari