แผนปฏิบัติราชการ

ผอ.สศท.10 ร่วมประชุมและลงพื้นที่ตรวจติดตามงานร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 3

 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566 นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ในฐานะผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบที่ 2 โดยมีนายนวนิตย์ พลเคน ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขตตรวจราชการที่ 3 เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึกษาภาคประชาชนด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี เข้าร่วมการประชุม เพื่อรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และการวิเคราะห์สภาพการผลิตการตลาดและปัญหาสำคัญของสินค้าเกษตรฯ ณ ห้องประชุมประชุมลำภาชี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี
ช่วงบ่าย ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ดังนี้
จุดที่ 1 ณ แปลงใหญ่เห็ดนางฟ้า ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
มีสมาชิกทั้งหมด ๓๐ ราย เพาะเห็ด ๔ ชนิด ได้แก่ เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางรมฮังการี เห็ดนางรมดำ และเห็ดหูหนู ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ได้แก่ การผลิตหัวเชื้อเห็ดในอาหารวุ้น PDA (Potato dextrose agar) ก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพ การเพาะเห็ดในโรงเรือนตามมาตรฐาน GAP การคัดบรรจุตัดแต่งเห็ด ตลอดจนจำหน่ายผลผลิตและแปรรูปเห็ด ลักษณะการดำเนินงานของสมาชิกแปลงใหญ่เห็ดนางฟ้าฯ เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพสินค้า ประกอบด้วย
- การรวมกลุ่มกันจัดหาปัจจัยการผลิตทำให้เข้าถึงราคาถูกลง ร่วมมือกันผลิตเชื้อเห็ด และก้อนเชื้อเห็ด รวบรวมผลผลิตเห็ดของสมาชิกทุกคนไปส่งตามคำสั่งซื้อของลูกค้า
- การปรับสูตรอาหารในการผลิตก้อนเชื้อเห็ด ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทดแทนปุ๋ยเคมี
- ลดการใช้สารเคมี ใช้สารชีวภัณฑ์ หลักการจัดการศัตรูพืชและสัตว์เข้ามาทดแทน
- วางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับชนิดเห็ด ฤดูกาล อุณหภูมิ ความชื้น ความต้องการของลูกค้า และราคาตลาด
- การให้น้ำที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ด้วยระบบสายยาง และสปริงเกอร์ เนื่องจากช่วงระยะการบ่มเส้นใย และการเปิดดอกก้อนเห็ดให้ออกผลผลิตครั้งแรก ต้องให้น้ำทางสายยาง บริเวณภายนอกก้อนเห็ด (หลังก้อน) และบริเวณพื้นโรงเรือน เพื่อลดอุณภูมิ
- ผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร GAP (Good Agriculture Practice) และสถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร ICAPS
- การใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยโรงเรือนระบบปิด EVAP (Evaporative Cooling System) ช่วยแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผลผลิตน้อย สามารถผลิตเห็ดได้ตลอดทั้งปี และมีผลผลิตในช่วงราคาสูง
และจุดที่ 2 ณ จุดแปลงใหญ่ฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกราม “ประกอบฟาร์ม” ตำบลดอนใหญ่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรีประกอบฟาร์มมีจุดเด่นในด้านการดำเนินงานตามรูปแบบตลาดนำการผลิต และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีการดำเนินกิจกรรมที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ดังนี้
1. ด้านพื้นที่การเลี้ยง เลี้ยงด้วยมาตรฐาน GAP ของกรมประมง การขนส่งด้วยรถระบบควบคุมอุณหภูมิประสิทธิภาพสูงเพื่อคงสภาพกุ้งให้ยังมีชีวิต และมีการพักบ่อ ตากบ่อ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงครั้งต่อไป
2. ด้านสิ่งแวดล้อม เลี้ยงโดยใช้ระบบปิด ให้ความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษในการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำอย่างสม่ำเสมอ และน้ำทิ้งมีค่าน้ำไม่เกินค่ามาตรฐานของ พรบ.สิ่งแวดล้อม มีการใช้ผ้ากรองน้ำเข้าบ่อที่มีคุณภาพสูง มีสแลนกันขอบบ่อ
3. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนาสายพันธุ์กุ้งก้ามกราม เพาะพันธุ์เลี้ยงและขายด้วยตนเอง มีนวัตกรรมการคัดแยกขนาดกุ้ง มีการใช้แท็บแลตในการเก็บและบันทึกข้อมูลภายในระบบการเลี้ยง และการลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้า โดยการใช้อินเวอเตอร์ควบคุมการทำงานของมอเตอร์ มีผลให้ค่า FT เป็น 0 สามารถใช้ได้กับมอเตอร์ขนาด 5-10 แรงขึ้นไป ใช้ปริมาณไฟฟ้าลดลงประมาณ 50% ต่อมอเตอร์ 1 ตัว
4. ด้านการตลาด มีตลาดขายเป็นของตนเอง เช่น ขายออนไลน์ ตลาดไท ห้างแมคโคร และขายกุ้งเป็นหน้าฟาร์ม


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari