คู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก (Flow Chart)
 

สศท.10 ร่วมประชุมรับข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ.กาญจนบุรี

เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2564 นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี (สศท.10) มอบหมายให้นางสาวรัชตา วุฒิกิจเจริญ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยและประเมินผล สศท.10 ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อร่วมประชุมรับข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประภัตร โพธสุธน) ในการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดกาญจนบุรี โดยสรุปผลการหารือดังนี้
#แนวทางการพัฒนาด่านศุลกากรพุน้ำร้อน
1. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมทั้งด้านสาธารนูปโภค เพื่อทำให้เกิดแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้ค้าและผู้ขายเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่แห่งนี้ โดยกรมชลประทานเข้ามาสำรวจหาแหล่งน้ำในพื้นที่เพื่อที่จะรองรับการเกษตร
2. ด้านการเกษตร จะต้องมีการพัฒนาควบคู่ในเรื่องของพืชเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร ประมง และปศุสัตว์ (ท้ายชนท้าย) และนโยบายการขับเคลื่อนด้านโลจิสติกส์ (Logistics)
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งออกและนำเข้า เนื่องจากพื้นที่ด่านถาวรบ้านพุน้ำร้อนมีข้อได้เปรียบ ซึ่งเดิมมีการค้าขายส่งออกทางด่านแม่สอด และด่านสิงห์ขร ซึ่งมีระยะทางที่ห่างไกลกว่าที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญจากเมียนมาร์ อาทิ ปลาหมึก หอมแดง และมะม่วงหิมพานต์ ขณะนี้เส้นทางระหว่างทวายกับพุน้ำร้อนสร้างเสร็จอย่างสมบูรณ์ทำให้มีการเดินทางสะดวกสามารถนำสินค้าเข้ากรุงเทพฯ ในระยะทางที่ใกล้และสามารถส่งต่อไปยังแหลมฉบังได้ง่าย และส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น
#แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร
1. การปลูกไผ่ เนื่องจากได้การนำเข้าไม้ไผ่ลำตัดท่อนจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อนำมาทำข้าวหลาม ขนาด 2 นิ้ว และด่านพุน้ำร้อนจะนำเข้าไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ขนาดมากกว่า 3 นิ้ว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
2. การเลี้ยงปศุสัตว์ (โค และกระบือ) เพื่อลดการนำเข้าเนื่องจากมีการนำเข้าทั้งโคมีชีวิต และกระบือมีชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าส่งออกซึ่งในช่วงโควิต-19 สินค้าส่งออกชะลอตัวคือ สุกร ไก่
3. ส่งเสริมการใช้ระบบน้ำที่มีแรงดันสูง (ระยะไกล 20 กิโลเมตร) เพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำระบบชลประทาน สนับสนุนโดยใช้เงินนอกงบประมาณ
4. ขอให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำรวจพื้นที่ที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์เพื่อให้เกษตรกรทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ สร้างรายได้ภายใต้สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (กู้ 1 ล้าน ดอกเบี้ย 100 บาทต่อปี) พร้อมทั้งให้กรมชลประทานสำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่เพื่อรองรับการเกษตร


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari