ยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กร
 

สศท.10 ร่วมพิธีปล่อยรถหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ร่วมกับ รมว.กษ. จ.เพชรบุรี

วันที่ 21 ตุลาคม 2565 นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ราชบุรี ร่วมพิธีปล่อยรถหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ภาคใต้ ณ ด่านกักกันสัตว์เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีปล่อยรถหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ภาคใต้ โดยศูนย์อาหารสัตว์ทุกแห่งในพื้นที่ภาคใต้ Kick Off พร้อมกัน  
กรมปศุสัตว์ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินงาน “หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน” ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ด้วย “หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน” นับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น สร้างความพึงพอใจ และเป็นขวัญกำลังใจแก่พี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างมาก
ในส่วนผลกระทบด้านปศุสัตว์ของจังหวัดเพชรบุรี พบผลกระทบเรื่องน้ำท่วมขังพื้นที่คอกเลี้ยงสัตว์ ที่ต้องทำการอพยพสัตว์มีเกษตรกร จำนวน 11 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ แยกเป็นโค 155 ตัว กระบือ 2 ตัว และไก่พื้นเมือง 115 ตัว ทั้งนี้ ไม่พบว่ามีสัตว์ป่วยตายหรือสูญหาย โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี ได้นำหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรแล้วจำนวน 1,000 กิโลกรัม ถุงยังชีพ 6 ถุง ในด้านมาตรการการป้องกันล่วงหน้า สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี และด่านกักกันสัตว์เพชรบุรี ได้ร่วมกันส่งมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ไปให้กับคลังเสบียงอาหารสัตว์ประจำตำบล  ในพื้นที่ 4 จุด ได้แก่  
1. คลังเสบียงอาหารสัตว์ประจำตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จำนวน 3,000 กิโลกรัม  
2. คลังเสบียงอาหารสัตว์ประจำตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง 2,000 กิโลกรัม  
3. คลังเสบียงอาหารสัตว์ประจำตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จำนวน 2,000 กิโลกรัม  
4. คลังเสบียงอาหารสัตว์ประจำตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง จำนวน 5,000 กิโลกรัม
โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี ได้สำรองหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน จำนวน 2,000 กิโลกรัม และจัดเตรียมถุงยังชีพจำนวน 100 ถุง จากกรมปศุสัตว์ เพื่อรองรับการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ  
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการเตรียมความพร้อม การบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือในด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นของเกษตรกร.


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari