การประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล ครั้งที่ 2/2564
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล ครั้งที่ 2/2564 โดยมีนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชนินทร์ รุ่งแสง คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน และนายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะรองประธานคณะทำงาน เข้าร่วมการประชุม เพื่อขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นการขับเคลื่อนอย่างบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาเกษตรกรฯ สภาอุตสาหกรรมฯ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และคณะวนศาสตรื มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาแนวทางส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานชีวมวลในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชเป้าหมาย โดยกลุ่มพื้นที่เป้าหมายในการส่งเสริมเบื้องต้น ได้แก่ พื้นที่นาดอนนอกเขตชลประทาน จำนวน 18.529 ล้านไร่ และพื้นที่ตามนโยบายปลูกพืชทดแทนของรัฐบาล (ยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 6.113 ล้านไร่) และพิจารณาไม้เศรษฐกิจ (ไม้โตเร็ว) ซึ่งเบื้องต้นที่นำมาวิเคราะห์รวม 6 ชนิด ได้แก่ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส ไผ่ และหญ้าเนเปียร์ โดยกระถินยักษ์มีจุดเด่นคือสามารถปลูกครั้งเดียว และเริ่มตัดใช้ประโยชน์ได้ในปีที่ 3 และจากนั้นสามารถตัดได้ทุก 2 ปี จึงเหมาะกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชน ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางรายได้ของเกษตรกรไทยต่อไป
ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาแนวทางส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานชีวมวลในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชเป้าหมาย โดยกลุ่มพื้นที่เป้าหมายในการส่งเสริมเบื้องต้น ได้แก่ พื้นที่นาดอนนอกเขตชลประทาน จำนวน 18.529 ล้านไร่ และพื้นที่ตามนโยบายปลูกพืชทดแทนของรัฐบาล (ยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 6.113 ล้านไร่) และพิจารณาไม้เศรษฐกิจ (ไม้โตเร็ว) ซึ่งเบื้องต้นที่นำมาวิเคราะห์รวม 6 ชนิด ได้แก่ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส ไผ่ และหญ้าเนเปียร์ โดยกระถินยักษ์มีจุดเด่นคือสามารถปลูกครั้งเดียว และเริ่มตัดใช้ประโยชน์ได้ในปีที่ 3 และจากนั้นสามารถตัดได้ทุก 2 ปี จึงเหมาะกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชน ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางรายได้ของเกษตรกรไทยต่อไป