ข่าวที่ 126/2562 สศก. เคาะตัวเลข GDP เกษตร Q3 ระบุ ขยายตัว 1.1%

 

สศก. เคาะตัวเลข GDP เกษตร Q3 ระบุ ขยายตัว 1.1%

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2562 (กรกฎาคม – กันยายน 2562) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน   ของปี 2561 เนื่องจากสาขาพืชซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักของภาคเกษตรกลับมาขยายตัว หลังจากที่หดตัวลงในไตรมาสที่ผ่านมา โดยผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ และมันสำปะหลัง สำหรับสาขาบริการทางการเกษตรและสาขาป่าไม้ยังขยายตัวได้ ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาประมงหดตัวลง

ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวถึงรายละเอียดว่า สาขาพืช ไตรมาส 3 ปี 2562 สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยพืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นจากพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 2556 ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ทุเรียน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกในปี 2557 ที่เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ทำให้มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น มังคุด มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น และปีที่ผ่านมาต้นมังคุดมีการพักสะสมอาหารทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ เงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลต้นให้มีความสมบูรณ์ และมันสำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น และเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนด ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น

สำหรับพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี มีผลผลิตลดลง เนื่องจากฝนที่มาล่าช้าในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก ทำให้บางพื้นที่ขาดน้ำในการเพาะปลูกและปล่อยพื้นที่ให้ว่าง นอกจากนี้ ภาวะฝนทิ้งช่วงและผลกระทบจากพายุโพดุล ทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหาย ข้าวนาปรัง มีผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะภัยแล้ง และปริมาณน้ำที่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์และผลผลิตต่อไร่ลดลง สับปะรดโรงงาน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตลดลง เนื่องจากการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด และภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ต้นข้าวโพดเจริญเติบโตไม่เต็มที่ รวมทั้งพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และลำไย มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและฝนแล้ง ทำให้การติดผลไม่ดีเท่าที่ควร และบางพื้นที่ประสบวาตภัยและพายุฤดูร้อน ทำให้ผลอ่อนร่วงเสียหาย

ด้านราคาสินค้าพืช ราคาข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่ยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ราคาสับปะรดโรงงานเพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ราคาทุเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ประกอบกับเกษตรกรมีการควบคุมคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด และราคาลำไยเพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง ในด้านราคามันสำปะหลังลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก และปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกษตรกรเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนด ราคายางพาราลดลง เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เปิดกรีดยางใหม่ ราคาปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
และสต็อกน้ำมันปาล์มยังคงมีปริมาณที่สูงกว่าสต็อกเพื่อความมั่นคง
ที่ประเมินไว้ ส่วนราคามังคุดและเงาะลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

สาขาปศุสัตว์ ไตรมาส 3 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากผลผลิตสุกรซึ่งเป็นสินค้าสำคัญลดลง โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยลดการเลี้ยงจากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการมีการควบคุมการเลี้ยงและเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่มีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี และความต้องการบริโภคของตลาดเพิ่มขึ้น ด้านราคาสินค้าปศุสัตว์ ราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นจากปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาสุกรเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง และราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นจากการปรับการผลิตไข่ไก่ทั้งระบบให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค ทำให้ภาวะไข่ไก่ล้นตลาดลดลงและเริ่มกลับสู่สมดุล สำหรับราคาน้ำนมดิบลดลงเล็กน้อยตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยยังมีระดับราคาใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สาขาประมง ไตรมาส 3 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลง และผลผลิตประมงน้ำจืด ได้แก่ ปลานิลและปลาดุกลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับความเสียหายจากพายุโพดุล ในขณะที่ปริมาณกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ด้านราคาสินค้าประมง ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัว/กก.) ที่เกษตรกรขายได้ลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาปลานิลขนาดกลางและปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 2-4 ตัว/กก.) เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง

สาขาบริการทางการเกษตร ไตรมาส 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากมีการจ้างบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวมากขึ้น โดยเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น และการเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการจ้างบริการเครื่องขุดมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการใช้บริการเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่เลื่อนมาทำการเพาะปลูกข้าวในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม นอกจากนี้ เกษตรกรบางส่วนมีการใช้บริการโดรนสำหรับฉีดพ่นในพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

สาขาป่าไม้ ไตรมาส ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากปริมาณไม้ยูคาลิปตัสและครั่งเพิ่มขึ้น โดยไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลของตลาดในประเทศและต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตครั่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากครั่งมีการเจริญเติบโตและฟื้นตัวได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศในช่วงที่ครั่งขยายพันธุ์เอื้ออำนวยกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้าหลักมีความต้องการเพิ่มขึ้น

อัตราการเติบโตของภาคเกษตร ไตรมาส 3 ปี 2562

                                                                                                                                 หน่วยร้อยละ

สาขา

ไตรมาส 3/2562 (กรกฎาคม – กันยายน 2562)

ภาคเกษตร

1.1

พืช

1.6

ปศุสัตว์

-0.5

ประมง

-0.3

บริการทางการเกษตร

2.5

ป่าไม้

1.8

 

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5 – 1.5 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ มีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดและกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาปศุสัตว์มีแนวโน้มชะลอตัวจากผลผลิตสุกรที่ลดลง โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการส่งเสริมการใช้สินค้าเกษตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ทั้งภาวะแห้งแล้งและการเกิดพายุฝนที่อาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร

*******************************

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2562 (กรกฎาคม – กันยายน 2562) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน   ของปี 2561 เนื่องจากสาขาพืชซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักของภาคเกษตรกลับมาขยายตัว หลังจากที่หดตัวลงในไตรมาสที่ผ่านมา โดยผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ และมันสำปะหลัง สำหรับสาขาบริการทางการเกษตรและสาขาป่าไม้ยังขยายตัวได้ ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาประมงหดตัวลง

ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวถึงรายละเอียดว่า สาขาพืช ไตรมาส 3 ปี 2562 สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยพืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นจากพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 2556 ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ทุเรียน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกในปี 2557 ที่เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ทำให้มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น มังคุด มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น และปีที่ผ่านมาต้นมังคุดมีการพักสะสมอาหารทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ เงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลต้นให้มีความสมบูรณ์ และมันสำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น และเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนด ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น

สำหรับพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี มีผลผลิตลดลง เนื่องจากฝนที่มาล่าช้าในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก ทำให้บางพื้นที่ขาดน้ำในการเพาะปลูกและปล่อยพื้นที่ให้ว่าง นอกจากนี้ ภาวะฝนทิ้งช่วงและผลกระทบจากพายุโพดุล ทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหาย ข้าวนาปรัง มีผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะภัยแล้ง และปริมาณน้ำที่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์และผลผลิตต่อไร่ลดลง สับปะรดโรงงาน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตลดลง เนื่องจากการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด และภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ต้นข้าวโพดเจริญเติบโตไม่เต็มที่ รวมทั้งพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และลำไย มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและฝนแล้ง ทำให้การติดผลไม่ดีเท่าที่ควร และบางพื้นที่ประสบวาตภัยและพายุฤดูร้อน ทำให้ผลอ่อนร่วงเสียหาย

ด้านราคาสินค้าพืช ราคาข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่ยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ราคาสับปะรดโรงงานเพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ราคาทุเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ประกอบกับเกษตรกรมีการควบคุมคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด และราคาลำไยเพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง ในด้านราคามันสำปะหลังลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก และปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกษตรกรเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนด ราคายางพาราลดลง เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เปิดกรีดยางใหม่ ราคาปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
และสต็อกน้ำมันปาล์มยังคงมีปริมาณที่สูงกว่าสต็อกเพื่อความมั่นคง
ที่ประเมินไว้ ส่วนราคามังคุดและเงาะลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

สาขาปศุสัตว์ ไตรมาส 3 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากผลผลิตสุกรซึ่งเป็นสินค้าสำคัญลดลง โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยลดการเลี้ยงจากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการมีการควบคุมการเลี้ยงและเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่มีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี และความต้องการบริโภคของตลาดเพิ่มขึ้น ด้านราคาสินค้าปศุสัตว์ ราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นจากปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาสุกรเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง และราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นจากการปรับการผลิตไข่ไก่ทั้งระบบให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค ทำให้ภาวะไข่ไก่ล้นตลาดลดลงและเริ่มกลับสู่สมดุล สำหรับราคาน้ำนมดิบลดลงเล็กน้อยตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยยังมีระดับราคาใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สาขาประมง ไตรมาส 3 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลง และผลผลิตประมงน้ำจืด ได้แก่ ปลานิลและปลาดุกลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับความเสียหายจากพายุโพดุล ในขณะที่ปริมาณกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ด้านราคาสินค้าประมง ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัว/กก.) ที่เกษตรกรขายได้ลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาปลานิลขนาดกลางและปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 2-4 ตัว/กก.) เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง

สาขาบริการทางการเกษตร ไตรมาส 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากมีการจ้างบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวมากขึ้น โดยเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น และการเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการจ้างบริการเครื่องขุดมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการใช้บริการเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่เลื่อนมาทำการเพาะปลูกข้าวในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม นอกจากนี้ เกษตรกรบางส่วนมีการใช้บริการโดรนสำหรับฉีดพ่นในพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

สาขาป่าไม้ ไตรมาส ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากปริมาณไม้ยูคาลิปตัสและครั่งเพิ่มขึ้น โดยไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลของตลาดในประเทศและต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตครั่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากครั่งมีการเจริญเติบโตและฟื้นตัวได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศในช่วงที่ครั่งขยายพันธุ์เอื้ออำนวยกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้าหลักมีความต้องการเพิ่มขึ้น

อัตราการเติบโตของภาคเกษตร ไตรมาส 3 ปี 2562

                                                                                                                                 หน่วยร้อยละ

สาขา

ไตรมาส 3/2562 (กรกฎาคม – กันยายน 2562)

ภาคเกษตร

1.1

พืช

1.6

ปศุสัตว์

-0.5

ประมง

-0.3

บริการทางการเกษตร

2.5

ป่าไม้

1.8

 

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5 – 1.5 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ มีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดและกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาปศุสัตว์มีแนวโน้มชะลอตัวจากผลผลิตสุกรที่ลดลง โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการส่งเสริมการใช้สินค้าเกษตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ทั้งภาวะแห้งแล้งและการเกิดพายุฝนที่อาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร

*******************************

แหล่งข้อมูล

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ ข้อมูล : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร