- หน้าแรก
- รายละเอียดข่าวผู้บริหาร
ข่าวที่ 129/2562 สศก. แนะแนวทางปรับเปลี่ยนการผลิตระดับภาค เตรียมดึง Big data พัฒนาฐานข้อมูลสินค้าเกษตรสำคัญ ปี 63
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงนโยบายบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning by Agri-Map) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแผนการผลิต ปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นการผลิตสินค้าที่เหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด สศก. จึงได้จัดทำแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจระดับภาค โดยใช้ Agri-Map และ Big data ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรในแต่ละพื้นที่ โดยได้ศึกษาวิเคราะห์พืช/กิจกรรม เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างโอกาสที่จะได้รับรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สอดคล้องความต้องการของตลาด ของแต่ละภูมิภาค
นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สศก. กล่าวในรายละเอียดของผลการศึกษาและแนวทางการบริหารจัดการแต่ละภาค พบว่า ภาคเหนือ มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นที่ราบ เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ และมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน ส่วนภาคเหนือตอนบนมีพืชผักและไม้ผล เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมของที่ดินในการเพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) รวม 12.4 ล้านไร่ (ร้อยละ 82) โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้มากขึ้น และการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP ซึ่งตลาดมีความต้องการในกลุ่มผู้รักสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน สำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) มีจำนวน 2.8 ล้านไร่ (ร้อยละ 18) ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนการผลิต ไปสู่สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ และมีโอกาสทางการตลาดทดแทน ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ กล้วยน้ำว้า ไผ่ ไม้เศรษฐกิจ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และ พืชผักปลอดภัย ในภาคเหนือตอนบน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ทางการเกษตรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43 ของประเทศ และนับได้ว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของภาค โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยพืชหลักที่สำคัญของภาค ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม การทำการเกษตรของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ประกอบกับพื้นที่ชลประทานน้อยกว่าทุกภาค ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ในภาพรวมต่ำกว่าระดับประเทศ สำหรับด้านความเหมาะสมของที่ดินในการเพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) รวม 20.3 ล้านไร่ (ร้อยละ 47) โดยควรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและมาตรฐานข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ไปสู่การผลิตให้เป็นสินค้า Premium เพื่อการส่งออก และมีพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N)
จำนวน 22.9 ล้านไร่ (ร้อยละ 53) โดยควรมีการปรับเปลี่ยนไปสู่สินค้าที่มีศักยภาพและตรงความต้องการของตลาด ได้แก่ กล้วยหอมทอง เงาะ ไม้ดอกไม้ประดับ พริก หรือการปลูกพืชเสริมรายได้หลังการทำนา ได้แก่ ข้าวโพดสดเพื่อเป็นอาหารสำหรับปศุสัตว์ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านแหล่งน้ำและการปรับปรุงดินร่วมด้วย
ภาคกลาง เป็นภาคที่มีศักยภาพการใช้ที่ดินสำหรับการพัฒนาการเกษตร เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีระบบชลประทานที่ดี โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร 18.25 ล้านไร่ และยังมีพื้นที่ชลประทานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งทำการเกษตรที่หลากหลายทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยเฉพาะสินค้าข้าวที่มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งนาปีและนาปรัง สำหรับความเหมาะสมดินในการเพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) จำนวน 7.7 ล้านไร่ (ร้อยละ 91) ซึ่งมีความพร้อมทางด้านกายภาพที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างมาก แนวทางการพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว ด้วยการผลิตข้าวที่มีคุณภาพมาตรฐานตลอดโซ่อุปทาน รวมทั้งการบริหารจัดการสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และในพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 0.8 ล้านไร่ (ร้อยละ 9) จึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าศักยภาพที่ควรส่งเสริม ได้แก่ พืชผัก (ตะไคร้ ข่า) ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร เนื่องจากมีตลาดของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรรองรับ และพืชอาหารสัตว์ รองรับฟาร์มปศุสัตว์ที่กระจายอยู่ทั้งภาค
ภาคตะวันออก เป็นแหล่งเพาะปลูกผลไม้ที่สร้างมูลค่า ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และพืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและมันสำปะหลัง นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพในการทำการประมง แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำการเกษตรของภาคตะวันออกได้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างเสื่อมโทรมจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ดังนั้น แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ จึงเป็นแนวทางเพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมควบคู่กับการส่งเสริมการผลิตที่เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โดยกำหนดผังเมืองเขตพื้นที่เกษตรกรรม เมือง อุตสาหกรรม และพื้นที่ประมงชายฝั่งให้มีความชัดเจน สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) จำนวน 2.3 ล้านไร่ (ร้อยละ 77) แนวทางการพัฒนาจึงเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด ส่วนพื้นที่เหมาะสมน้อยและ
ไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 0.7 ล้านไร่ (ร้อยละ 23) จึงได้เสนอสินค้าเพื่อปรับเปลี่ยน ได้แก่ พืชสมุนไพร (หญ้าหนวดแมว ทองพันช่าง กระวาน เร่ว) โดยมีตลาดโรงพยาบาลและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นผู้รองรับสินค้ารายใหญ่
ภาคใต้ (ยกเว้นภาคใต้ชายแดน) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร โดยมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ปี 2560 พื้นที่ปลูกยางพาราของภาคใต้คิดเป็น 10 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 49 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) จำนวน 9 ล้านไร่ (ร้อยละ 90) โดยแนวทางการพัฒนาควรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราและปลูกพันธุ์ยางคุณภาพดีในพื้นที่เหมาะสม และปลูกพืชแซมหรือปลูกพืชร่วมยาง ได้แก่ ผักกูด จำปาดะ พืชสมุนไพร ใบเหลียง ซึ่งตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพารา ส่วนพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 1 ล้านไร่ (ร้อยละ 10) ควรปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพ ได้แก่ ทุเรียน ซึ่งเป็นสินค้าที่ให้ผลตอบแทนดี โดยการพัฒนาให้เป็นสินค้าเกษตร อัตลักษณ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเกิดผลสำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพในปี 2563 สศก. จึงได้พัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยใช้ Agri-Map และ Big data ประกอบด้วย 1) ต้นทุนและผลตอบแทน อุปสงค์และอุปทาน สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ 7 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมะพร้าว 2) ข้อมูลสินค้า/กิจกรรมทางเลือกตามศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่สามารถจัดทำแผนบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งประกอบด้วยมาตรการ แผนงาน/โครงการ ในการสนับสนุนการจัดทำแนวทางในระดับพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ท่านที่สนใจข้อมูลผลการศึกษา สามารถสอบถามได้ที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร โทร. 0 2940 6674 หรือสามารถสอบถามข้อมูลพืชทางเลือกในแต่ละจังหวัดได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 - 12 ในพื้นที่จังหวัดรับผิดชอบทั่วประเทศ
*******************************
นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สศก. กล่าวในรายละเอียดของผลการศึกษาและแนวทางการบริหารจัดการแต่ละภาค พบว่า ภาคเหนือ มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นที่ราบ เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ และมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน ส่วนภาคเหนือตอนบนมีพืชผักและไม้ผล เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมของที่ดินในการเพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) รวม 12.4 ล้านไร่ (ร้อยละ 82) โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้มากขึ้น และการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP ซึ่งตลาดมีความต้องการในกลุ่มผู้รักสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน สำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) มีจำนวน 2.8 ล้านไร่ (ร้อยละ 18) ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนการผลิต ไปสู่สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ และมีโอกาสทางการตลาดทดแทน ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ กล้วยน้ำว้า ไผ่ ไม้เศรษฐกิจ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และ พืชผักปลอดภัย ในภาคเหนือตอนบน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ทางการเกษตรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43 ของประเทศ และนับได้ว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของภาค โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยพืชหลักที่สำคัญของภาค ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม การทำการเกษตรของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ประกอบกับพื้นที่ชลประทานน้อยกว่าทุกภาค ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ในภาพรวมต่ำกว่าระดับประเทศ สำหรับด้านความเหมาะสมของที่ดินในการเพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) รวม 20.3 ล้านไร่ (ร้อยละ 47) โดยควรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและมาตรฐานข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ไปสู่การผลิตให้เป็นสินค้า Premium เพื่อการส่งออก และมีพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N)
จำนวน 22.9 ล้านไร่ (ร้อยละ 53) โดยควรมีการปรับเปลี่ยนไปสู่สินค้าที่มีศักยภาพและตรงความต้องการของตลาด ได้แก่ กล้วยหอมทอง เงาะ ไม้ดอกไม้ประดับ พริก หรือการปลูกพืชเสริมรายได้หลังการทำนา ได้แก่ ข้าวโพดสดเพื่อเป็นอาหารสำหรับปศุสัตว์ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านแหล่งน้ำและการปรับปรุงดินร่วมด้วย
ภาคกลาง เป็นภาคที่มีศักยภาพการใช้ที่ดินสำหรับการพัฒนาการเกษตร เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีระบบชลประทานที่ดี โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร 18.25 ล้านไร่ และยังมีพื้นที่ชลประทานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งทำการเกษตรที่หลากหลายทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยเฉพาะสินค้าข้าวที่มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งนาปีและนาปรัง สำหรับความเหมาะสมดินในการเพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) จำนวน 7.7 ล้านไร่ (ร้อยละ 91) ซึ่งมีความพร้อมทางด้านกายภาพที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างมาก แนวทางการพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว ด้วยการผลิตข้าวที่มีคุณภาพมาตรฐานตลอดโซ่อุปทาน รวมทั้งการบริหารจัดการสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และในพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 0.8 ล้านไร่ (ร้อยละ 9) จึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าศักยภาพที่ควรส่งเสริม ได้แก่ พืชผัก (ตะไคร้ ข่า) ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร เนื่องจากมีตลาดของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรรองรับ และพืชอาหารสัตว์ รองรับฟาร์มปศุสัตว์ที่กระจายอยู่ทั้งภาค
ภาคตะวันออก เป็นแหล่งเพาะปลูกผลไม้ที่สร้างมูลค่า ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และพืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและมันสำปะหลัง นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพในการทำการประมง แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำการเกษตรของภาคตะวันออกได้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างเสื่อมโทรมจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ดังนั้น แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ จึงเป็นแนวทางเพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมควบคู่กับการส่งเสริมการผลิตที่เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โดยกำหนดผังเมืองเขตพื้นที่เกษตรกรรม เมือง อุตสาหกรรม และพื้นที่ประมงชายฝั่งให้มีความชัดเจน สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกข้าว พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) จำนวน 2.3 ล้านไร่ (ร้อยละ 77) แนวทางการพัฒนาจึงเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด ส่วนพื้นที่เหมาะสมน้อยและ
ไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 0.7 ล้านไร่ (ร้อยละ 23) จึงได้เสนอสินค้าเพื่อปรับเปลี่ยน ได้แก่ พืชสมุนไพร (หญ้าหนวดแมว ทองพันช่าง กระวาน เร่ว) โดยมีตลาดโรงพยาบาลและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นผู้รองรับสินค้ารายใหญ่
ภาคใต้ (ยกเว้นภาคใต้ชายแดน) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร โดยมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ปี 2560 พื้นที่ปลูกยางพาราของภาคใต้คิดเป็น 10 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 49 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) จำนวน 9 ล้านไร่ (ร้อยละ 90) โดยแนวทางการพัฒนาควรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราและปลูกพันธุ์ยางคุณภาพดีในพื้นที่เหมาะสม และปลูกพืชแซมหรือปลูกพืชร่วมยาง ได้แก่ ผักกูด จำปาดะ พืชสมุนไพร ใบเหลียง ซึ่งตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพารา ส่วนพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 1 ล้านไร่ (ร้อยละ 10) ควรปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพ ได้แก่ ทุเรียน ซึ่งเป็นสินค้าที่ให้ผลตอบแทนดี โดยการพัฒนาให้เป็นสินค้าเกษตร อัตลักษณ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเกิดผลสำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพในปี 2563 สศก. จึงได้พัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยใช้ Agri-Map และ Big data ประกอบด้วย 1) ต้นทุนและผลตอบแทน อุปสงค์และอุปทาน สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ 7 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมะพร้าว 2) ข้อมูลสินค้า/กิจกรรมทางเลือกตามศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่สามารถจัดทำแผนบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งประกอบด้วยมาตรการ แผนงาน/โครงการ ในการสนับสนุนการจัดทำแนวทางในระดับพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ท่านที่สนใจข้อมูลผลการศึกษา สามารถสอบถามได้ที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร โทร. 0 2940 6674 หรือสามารถสอบถามข้อมูลพืชทางเลือกในแต่ละจังหวัดได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 - 12 ในพื้นที่จังหวัดรับผิดชอบทั่วประเทศ
*******************************
แหล่งข้อมูล
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร