- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
ข่าวที่ 136/2562 เดินหน้าเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเนื้อโค พร้อมรับมือสิ้นสุดมาตรการ SSG ภายใต้ TNZCEP ในปี 63
เดินหน้าเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเนื้อโค พร้อมรับมือสิ้นสุดมาตรการ SSG ภายใต้ TNZCEP ในปี 63
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเปิดตลาดและการนำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard: SSG) ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership Agreement: TNZCEP) ว่า ปัจจุบันไทยยังคงมีสินค้าที่ใช้มาตรการ SSG เหลืออยู่ 18 รายการ และจะสิ้นสุดมาตรการ ในสิ้นปีหน้า คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สินค้าทั้ง 18 ชนิด ลดภาษีเป็นร้อยละ 0
หากพิจารณาสินค้า SSG ที่ไทยนำเข้าจากนิวซีแลนด์ในปริมาณค่อนข้างสูง พบว่ามีเพียง 3 รายการ จาก 18 รายการ ได้แก่ นมและครีม เนื้อโคกระบือ และเครื่องในโคกระบือ ซึ่งจากข้อมูลปี 2559 - 2561 พบว่า ไทยมีปริมาณนำเข้า สินค้านมและครีม จากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 44,440 ตัน/ปี โดยปี 2563 ไทยกำหนดปริมาณนำเข้า (Trigger Volume) สำหรับภาษีร้อยละ 0 จำนวน 51,973 ตัน แต่หากปริมาณที่เกินเพดานที่กำหนด ต้องเสียภาษีร้อยละ 5 หรือร้อยละ 18
สำหรับ สินค้าเนื้อโคกระบือ ไทยมีปริมาณนำเข้าจากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 2,531 ตัน/ปี โดยปี 2563 ไทยกำหนดปริมาณนำเข้า สำหรับภาษีร้อยละ 0 จำนวน 1,039.46 ตัน และหากปริมาณที่เกินเพดานที่กำหนด ต้องเสียภาษีร้อยละ 50 ส่วนสินค้าเครื่องในโคกระบือ ไทยมีปริมาณนำเข้าจากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 2,738 ตัน/ปี ทั้งนี้ ปี 2563 ไทยกำหนดปริมาณนำเข้า สำหรับภาษีร้อยละ 0 จำนวน 1,247 ตัน และหากปริมาณที่เกินเพดานที่กำหนด ต้องเสียภาษีร้อยละ 30 ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่น เนื้อสุกร เครื่องในสุกร เนยแข็ง และผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ พบว่า ไทยไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของนิวซีแลนด์ จึงมีปริมาณนำเข้าจากนิวซีแลนด์ไม่มากนัก
ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 สินค้าดังกล่าวทั้ง 3 รายการจะสิ้นสุดมาตรการ คือ ลดภาษีเป็นร้อยละ 0 โดยไม่จำกัดปริมาณนำเข้า ดังนั้น สศก. จึงได้ร่วมกับหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเตรียมการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดจากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้กรอบความตกลง TNZCEP โดยเฉพาะสินค้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ด้วยการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า และปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการด้านปศุสัตว์ ไปแล้ว 18 โครงการ อาทิ โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคขุนคุณภาพสูง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ และโครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ ภายใต้ความตกลง TNZCEP ไทยและนิวซีแลนด์ ได้มีโครงการความร่วมมือสำหรับพัฒนาศักยภาพการผลิตโคนมของไทยอีกด้วย ซึ่งเชื่อมั่นว่าผู้ผลิตในประเทศจะพัฒนาและสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าดังกล่าว นำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรม โคเนื้อและโคนมของไทยได้ในอนาคต สำหรับเกษตรกรที่ต้องการขอคำแนะนำจากกองทุน FTA สามารถสอบถามได้ที่ โทร. 0 2561 4727 หรือ Email: fta.oae@gmail.com หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www2.oae.go.th/FTA
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเปิดตลาดและการนำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard: SSG) ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership Agreement: TNZCEP) ว่า ปัจจุบันไทยยังคงมีสินค้าที่ใช้มาตรการ SSG เหลืออยู่ 18 รายการ และจะสิ้นสุดมาตรการ ในสิ้นปีหน้า คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สินค้าทั้ง 18 ชนิด ลดภาษีเป็นร้อยละ 0
หากพิจารณาสินค้า SSG ที่ไทยนำเข้าจากนิวซีแลนด์ในปริมาณค่อนข้างสูง พบว่ามีเพียง 3 รายการ จาก 18 รายการ ได้แก่ นมและครีม เนื้อโคกระบือ และเครื่องในโคกระบือ ซึ่งจากข้อมูลปี 2559 - 2561 พบว่า ไทยมีปริมาณนำเข้า สินค้านมและครีม จากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 44,440 ตัน/ปี โดยปี 2563 ไทยกำหนดปริมาณนำเข้า (Trigger Volume) สำหรับภาษีร้อยละ 0 จำนวน 51,973 ตัน แต่หากปริมาณที่เกินเพดานที่กำหนด ต้องเสียภาษีร้อยละ 5 หรือร้อยละ 18
สำหรับ สินค้าเนื้อโคกระบือ ไทยมีปริมาณนำเข้าจากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 2,531 ตัน/ปี โดยปี 2563 ไทยกำหนดปริมาณนำเข้า สำหรับภาษีร้อยละ 0 จำนวน 1,039.46 ตัน และหากปริมาณที่เกินเพดานที่กำหนด ต้องเสียภาษีร้อยละ 50 ส่วนสินค้าเครื่องในโคกระบือ ไทยมีปริมาณนำเข้าจากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 2,738 ตัน/ปี ทั้งนี้ ปี 2563 ไทยกำหนดปริมาณนำเข้า สำหรับภาษีร้อยละ 0 จำนวน 1,247 ตัน และหากปริมาณที่เกินเพดานที่กำหนด ต้องเสียภาษีร้อยละ 30 ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่น เนื้อสุกร เครื่องในสุกร เนยแข็ง และผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ พบว่า ไทยไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของนิวซีแลนด์ จึงมีปริมาณนำเข้าจากนิวซีแลนด์ไม่มากนัก
ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 สินค้าดังกล่าวทั้ง 3 รายการจะสิ้นสุดมาตรการ คือ ลดภาษีเป็นร้อยละ 0 โดยไม่จำกัดปริมาณนำเข้า ดังนั้น สศก. จึงได้ร่วมกับหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเตรียมการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดจากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้กรอบความตกลง TNZCEP โดยเฉพาะสินค้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ด้วยการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า และปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการด้านปศุสัตว์ ไปแล้ว 18 โครงการ อาทิ โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคขุนคุณภาพสูง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ และโครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ ภายใต้ความตกลง TNZCEP ไทยและนิวซีแลนด์ ได้มีโครงการความร่วมมือสำหรับพัฒนาศักยภาพการผลิตโคนมของไทยอีกด้วย ซึ่งเชื่อมั่นว่าผู้ผลิตในประเทศจะพัฒนาและสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าดังกล่าว นำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรม โคเนื้อและโคนมของไทยได้ในอนาคต สำหรับเกษตรกรที่ต้องการขอคำแนะนำจากกองทุน FTA สามารถสอบถามได้ที่ โทร. 0 2561 4727 หรือ Email: fta.oae@gmail.com หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www2.oae.go.th/FTA
แหล่งข้อมูล
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ