- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
วิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค จ.อุบลราชธานี ต้นแบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ชู ‘มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์’ สร้างรายได้ดี
วิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค จ.อุบลราชธานี ต้นแบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ชู ‘มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์’ สร้างรายได้ดี #OAE_Navigator #สศก นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้เกษตรกร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีคุณภาพได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับชุมชน ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับสากล โดย ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน สร้างรายได้และความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกร สศท.11 ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2561 โดยมี นายสามัคคี นิคมรักษ์ เป็นประธานวิสาหกิจฯ มีสมาชิกเกษตรกร 15 ราย พื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์รวม 66 ไร่เฉลี่ย 4 - 5 ไร่/ครัวเรือน โดยสมาชิกในกลุ่มจะดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ของตนเองและมีการบริหารจัดการรวมกัน ซึ่งสมาชิกทุกรายผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ PGS จากมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย และจากสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี สำหรับเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานที่สมาชิกแต่ละครัวเรือนเพาะปลูก ได้แก่ มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ผักทานใบ ผักสลัด กล้วย มะม่วง และข้าว ซึ่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นจุดเด่นและสร้างรายได้ดี คือ มะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ เกษตรกรนิยมปลูก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์คิงส์ฟิชเชอร์ (Kingfisher) ผลสุกมีสีแดง ทรงผลรี เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวาน สายพันธุ์เรดไดมอนด์ (Red Diamond) ผลสุกมีสีแดง ทรงผลกลมกว่าสายพันธุ์แรก เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวานอมเปรี้ยว และสายพันธุ์อมาริสสา (Amarissa) ผลสุกมีสีส้ม มีกลิ่นคล้ายส้มแมนดาริน เนื้อแน่น กรอบ รสชาติหวาน ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
ด้านสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปี 2567 พบว่า มีเกษตรกรในกลุ่มที่ดำเนินการปลูก จำนวน 6 ราย (เฉลี่ยพื้นที่ปลูก 120 ตารางเมตร/ครัวเรือน) และบางส่วนอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม หลังจากผลผลิตมีอายุประมาณ 70 วัน เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวซึ่งจะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคมของปีถัดไป เกษตรกรได้ผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์รวมประมาณ 1.7 - 2 ตัน หรือได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อครัวเรือน 310 กิโลกรัม/120 ตารางเมตร/ปี โดยผลผลิตจะเน้นขายสดเป็นหลัก สำหรับราคาจำหน่ายอยู่ที่ 300 บาท/กิโลกรัม และแบบแพคกล่องขนาด 300 กรัม ราคา 100 บาท/กล่อง ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 60 สมาชิกจำหน่ายผ่านทาง Facebook ของตนเองและของกลุ่มศรีไคออร์แกนิค และผลผลิตอีกร้อยละ 40 สมาชิกจะนำมารวมกันเพื่อไปจำหน่ายที่ตลาดเขียว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ จากกระบวนการผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถสร้างรายได้อยู่ที่ 560,000 - 660,000 บาท/ปี หรือ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนจะอยู่ที่ 80,000 - 100,000 บาท/ครัวเรือน สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม ได้มีการบริหารจัดการในแต่ละด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการผลิต สมาชิกได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปีละ 2 ครั้ง จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงการอัพเดทความรู้และสถานการณ์ต่าง ๆ อาทิ โรคและแมลงศัตรูพืช จากกลุ่มไลน์วิสาหกิจฯ ด้านราคา จะกำหนดราคาเดียวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและเสถียรภาพด้านราคา ด้านการจำหน่าย มีการวางแผนการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดร่วมกันเพื่อรักษาตลาดหลักของวิสาหกิจฯ ในส่วนของแนวทางการขับเคลื่อนกลุ่มในระยะต่อไป จะยังคงพัฒนาคุณภาพผลผลิตและรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงขยายฐานการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และบูรณาการร่วมกับวิสาหกิจอื่น ในการผลิตวัสดุปลูก น้ำหมัก และวัสดุอื่น ๆ เพื่อความคล่องตัวในกระบวนการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค สามารถสอบถามได้ที่ คุณสามัคคี นิคมรักษ์ ประธานวิสาหกิจฯ โทร. 08 3380 4223 หรือ Facebook : ศรีไคออร์แกนิค หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 อุบลราชธานี โทร. 0 4534 4654 หรืออีเมล zone11@oae.go.th
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี
ด้านสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปี 2567 พบว่า มีเกษตรกรในกลุ่มที่ดำเนินการปลูก จำนวน 6 ราย (เฉลี่ยพื้นที่ปลูก 120 ตารางเมตร/ครัวเรือน) และบางส่วนอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม หลังจากผลผลิตมีอายุประมาณ 70 วัน เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวซึ่งจะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคมของปีถัดไป เกษตรกรได้ผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์รวมประมาณ 1.7 - 2 ตัน หรือได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อครัวเรือน 310 กิโลกรัม/120 ตารางเมตร/ปี โดยผลผลิตจะเน้นขายสดเป็นหลัก สำหรับราคาจำหน่ายอยู่ที่ 300 บาท/กิโลกรัม และแบบแพคกล่องขนาด 300 กรัม ราคา 100 บาท/กล่อง ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 60 สมาชิกจำหน่ายผ่านทาง Facebook ของตนเองและของกลุ่มศรีไคออร์แกนิค และผลผลิตอีกร้อยละ 40 สมาชิกจะนำมารวมกันเพื่อไปจำหน่ายที่ตลาดเขียว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ จากกระบวนการผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถสร้างรายได้อยู่ที่ 560,000 - 660,000 บาท/ปี หรือ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนจะอยู่ที่ 80,000 - 100,000 บาท/ครัวเรือน สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม ได้มีการบริหารจัดการในแต่ละด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการผลิต สมาชิกได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ปีละ 2 ครั้ง จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงการอัพเดทความรู้และสถานการณ์ต่าง ๆ อาทิ โรคและแมลงศัตรูพืช จากกลุ่มไลน์วิสาหกิจฯ ด้านราคา จะกำหนดราคาเดียวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและเสถียรภาพด้านราคา ด้านการจำหน่าย มีการวางแผนการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดร่วมกันเพื่อรักษาตลาดหลักของวิสาหกิจฯ ในส่วนของแนวทางการขับเคลื่อนกลุ่มในระยะต่อไป จะยังคงพัฒนาคุณภาพผลผลิตและรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงขยายฐานการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และบูรณาการร่วมกับวิสาหกิจอื่น ในการผลิตวัสดุปลูก น้ำหมัก และวัสดุอื่น ๆ เพื่อความคล่องตัวในกระบวนการปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศเชอรี่หวานอินทรีย์ ของวิสาหกิจชุมชนศรีไคออร์แกนิค สามารถสอบถามได้ที่ คุณสามัคคี นิคมรักษ์ ประธานวิสาหกิจฯ โทร. 08 3380 4223 หรือ Facebook : ศรีไคออร์แกนิค หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 อุบลราชธานี โทร. 0 4534 4654 หรืออีเมล zone11@oae.go.th
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี