- หน้าแรก
- InfoGraphic
- รายละเอียดInfoGraphic
ข่าวที่ 99/2562 ไทยร่วมเวทีมั่นคงอาหารเอเปค ณ ชิลี เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพประชุมในปี 65
ไทยร่วมเวทีมั่นคงอาหารเอเปค ณ ชิลี เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพประชุมในปี 65
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ร่วมการประชุมในสัปดาห์ความมั่นคงอาหารภายใต้กรอบเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ การมุ่งสู่ระบบอาหารที่ครอบคลุม ชาญฉลาด และยั่งยืน (Toward an Integrated, Smart and Sustainable Food System) ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม 2562 ณ เมืองปูแอร์โตบารัส สาธารณรัฐชิลี โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
การประชุมความมั่นคงอาหารระดับรัฐมนตรีของเอเปคดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารภายในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยมีการรับรองปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคในระหว่างการประชุม โดยสาระสำคัญของปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 5 ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก คือ 1) ประเด็นความท้าทาย 2) การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน 3) การรับนวัตกรรม เทคโนโลยีอุบัติใหม่ และโอกาสทางดิจิทัล 4) การใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงและการเสริมสร้างห่วงโซ่มูลค่าอาหารและการค้า 5) ส่งเสริมการพัฒนาชนบทในฐานะพื้นที่ที่สร้างโอกาส และ 6) แนวทางการดำเนินการระยะต่อไป ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานเกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค โดยไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย (Non-legal binding) ซึ่งสมาชิกสามารถพิจารณาให้ความร่วมมือตามความสมัครใจ
โอกาสเดียวกันนี้ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน) ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน (Fostering Sustainable Food System) โดยเน้นย้ำถึงแนวทางการดำเนินงานของไทยเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบอาหารที่ยั่งยืนในภูมิภาค อาทิ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชทางเลือกหรือพืชที่มีอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวในช่วงภัยแล้ง และการตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรทางทะเล ซึ่งไทยมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU fishing) และมีนโยบายในการก้าวเข้าสู่การเป็น IUU-Free-Thailand
นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิต โดยนำแนวคิดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) มาเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมไปสู่สังคมเกษตรกรรมสมัยใหม่หรือเกษตรกรรม 4.0 รวมทั้งการดำเนินนโยบายตลาดผู้นำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และการดำเนินโครงการประชารัฐ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว นอกจากจะเป็นการแสดงบทบาทของไทยในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหารแล้ว ยังเป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินนโยบาย รวมถึงมาตรการ แผนงาน และโครงการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหารของสมาชิก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป โดยไทยจะนำข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมภายใต้กรอบเอเปคทั้งหมดในปี 2565
*******************************
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ร่วมการประชุมในสัปดาห์ความมั่นคงอาหารภายใต้กรอบเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ การมุ่งสู่ระบบอาหารที่ครอบคลุม ชาญฉลาด และยั่งยืน (Toward an Integrated, Smart and Sustainable Food System) ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม 2562 ณ เมืองปูแอร์โตบารัส สาธารณรัฐชิลี โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
การประชุมความมั่นคงอาหารระดับรัฐมนตรีของเอเปคดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารภายในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยมีการรับรองปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคในระหว่างการประชุม โดยสาระสำคัญของปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 5 ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก คือ 1) ประเด็นความท้าทาย 2) การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน 3) การรับนวัตกรรม เทคโนโลยีอุบัติใหม่ และโอกาสทางดิจิทัล 4) การใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงและการเสริมสร้างห่วงโซ่มูลค่าอาหารและการค้า 5) ส่งเสริมการพัฒนาชนบทในฐานะพื้นที่ที่สร้างโอกาส และ 6) แนวทางการดำเนินการระยะต่อไป ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานเกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค โดยไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย (Non-legal binding) ซึ่งสมาชิกสามารถพิจารณาให้ความร่วมมือตามความสมัครใจ
โอกาสเดียวกันนี้ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน) ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน (Fostering Sustainable Food System) โดยเน้นย้ำถึงแนวทางการดำเนินงานของไทยเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบอาหารที่ยั่งยืนในภูมิภาค อาทิ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชทางเลือกหรือพืชที่มีอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวในช่วงภัยแล้ง และการตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรทางทะเล ซึ่งไทยมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU fishing) และมีนโยบายในการก้าวเข้าสู่การเป็น IUU-Free-Thailand
นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิต โดยนำแนวคิดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) มาเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมไปสู่สังคมเกษตรกรรมสมัยใหม่หรือเกษตรกรรม 4.0 รวมทั้งการดำเนินนโยบายตลาดผู้นำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และการดำเนินโครงการประชารัฐ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว นอกจากจะเป็นการแสดงบทบาทของไทยในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหารแล้ว ยังเป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินนโยบาย รวมถึงมาตรการ แผนงาน และโครงการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหารของสมาชิก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป โดยไทยจะนำข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมภายใต้กรอบเอเปคทั้งหมดในปี 2565
*******************************
แหล่งข้อมูล
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ