- หน้าแรก
- รายละเอียดข่าวผู้บริหาร
ร่วมประชุมประชุมขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมตามนโยบาย
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 น. นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 (สศท. 11) มอบให้นางสาวพรทิพย์ เทียบเพ็ชร์ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมประชุมขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในระดับพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีนายนาวิน ป้องกัน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธาน เพื่อการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งระดับพื้นที่และส่วนกลาง มีภารกิจและบทบาทครอบคลุมงานด้านการส่งเสริมสนับสนุนการผลิต และด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายหรือมีตลาดรองรับผลผลิต ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีคำสั่งที่ 1/2562 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 แต่งตั้งคณะทำงานการส่งเสริม สนับสนุนการเกษตร และจัดทำข้อมูลด้านการผลิต (Supply Side) และคณะทำงานการประสานงานด้านการตลาดหรือหาแหล่งรับซื้อผลผลิต (Demand Side) มีภารกิจทำหน้าที่ที่สำคัญ ได้แก่ ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรและความต้องการสินค้าเกษตรของจังหวัด ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร
ทั้งนี้ สศท.11 ได้ให้ข้อคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะในการจัดทำข้อมูลด้านการผลิต (Supply Side) และการประสานงานด้านการตลาดหรือหาแหล่งรับซื้อผลผลิต (Demand Side) ประกอบกับการพิจารณาสินค้าทางเลือกเชิงลึกเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมในระดับพื้นที่ พื้นที่ไม่เหมาะสมปรับเปลี่ยนพืชทางเลือก (Future Crop) ที่จะทำการศึกษา ได้แก่ มันอินทรีย์ ผักอินทรีย์ ถั่วเขียว โคเนื้อ และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
ดังนั้น ที่ประชุมได้ร่วมกันวิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรและความต้องการสินค้าเกษตรของจังหวัด ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรในครั้งนี้อีกด้วย
ทั้งนี้ สศท.11 ได้ให้ข้อคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะในการจัดทำข้อมูลด้านการผลิต (Supply Side) และการประสานงานด้านการตลาดหรือหาแหล่งรับซื้อผลผลิต (Demand Side) ประกอบกับการพิจารณาสินค้าทางเลือกเชิงลึกเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมในระดับพื้นที่ พื้นที่ไม่เหมาะสมปรับเปลี่ยนพืชทางเลือก (Future Crop) ที่จะทำการศึกษา ได้แก่ มันอินทรีย์ ผักอินทรีย์ ถั่วเขียว โคเนื้อ และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
ดังนั้น ที่ประชุมได้ร่วมกันวิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรและความต้องการสินค้าเกษตรของจังหวัด ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรในครั้งนี้อีกด้วย