- หน้าแรก
- รายละเอียดข่าวผู้บริหาร
ข่าวที่ 113/2562 สศก. แนะพืชทางเลือกภาคใต้ตอนบน ทดแทนปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม
สศก. แนะพืชทางเลือกภาคใต้ตอนบน ทดแทนปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และภูเก็ต) ตามการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ (Zoning by Agri - Map) พบว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้นความเหมาะสมต่างๆ (Agri-Map) มีจำนวน 7.14 ล้านไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก (S1) และเหมาะสมปานกลาง (S2) สำหรับการปลูกยางพารา 5.95 ล้านไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 2,850 บาท/ไร่ ในขณะที่พื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) สำหรับการปลูกยางพารา มีจำนวน 1.19 ล้านไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 1,683 บาท/ไร่
หากพิจารณาถึงพืชทางเลือกที่จะปรับเปลี่ยนในพื้นที่ปลูกยางพาราเขตพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ตามแผนที่ความเหมาะสมของดิน (Zoning) ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน พบว่า พืชทางเลือกที่เหมาะสมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง ได้แก่ สละ ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม และหมาก โดย สละ เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 22,214 บาท/ไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 30 ปี) ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,901 กก./ไร่ เกษตรกรขายได้ราคา 60-70 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 91,720 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่มีพ่อค้ารายย่อยมารับซื้อที่สวน และสามารถจัดการให้เก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน
ทุเรียน เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 21,719 บาท/ไร่ เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 6 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,080 กก./ไร่ เกษตรกรขายได้ราคา 60-70 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 48,446 บาท/ไร่/ปี เกษตรกรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 นิยมขายผลผลิตแบบเหมาสวนให้พ่อค้ารวบรวมส่งออก ซึ่งมีแหล่งรวบรวมหลักของภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร
มะพร้าวน้ำหอม เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 5,522 บาท/ไร่ เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,410 กก./ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี รอบตัดเก็บผลผลิตประมาณ 20-30 วัน/ครั้ง เกษตรกรขายได้ราคา 20-25 บาท/ผล ผลตอบแทนสุทธิ 28,686 บาท/ไร่/ปี แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่บริเวณเส้นทางท่องเที่ยวและมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่สวนเพื่อนำไปขายต่อในชุมชนเมืองและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งในรูปผลสดและแปรรูปทำวุ้นมะพร้าวอ่อน
หมาก เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 7,639 บาท/ไร่ เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 - 5 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 458 กก./ไร่ เกษตรกรขายหมากแห้งได้ราคา 40 - 45 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 27,013 บาท/ไร่/ปี ซึ่งตลาดมีความต้องการตลอดทั้งปี และมีจุดรับซื้อในท้องถิ่นตามฤดูกาล
ด้านนายบรรจบ ซุ้นสุวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) กล่าวเสริมว่า สำหรับข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนพืชทางเลือกข้างต้น เป็นข้อมูลที่ สศท.8 ได้ดำเนินการศึกษา ในปีเพาะปลูก 2560/61 นอกจากนี้ สศท.8 ยังลงพื้นที่ศึกษาเกษตรกรตัวอย่างที่มีการปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกยางไปปลูกพืชอื่นทดแทนหรือทำกิจกรรมเสริมรายได้ในสวนยางพารา พบว่า ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น การปลูกไผ่กิมซุง พริกไทย ผักเหมียง เห็ดนางฟ้า และการเลี้ยงแพะพื้นเมือง ซึ่งสินค้าดังกล่าวยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่อเนื่อง อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถแปรรูปผลผลิตต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย สำหรับท่านที่สนใจพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน สามารถขอคำแนะนำได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 โทร. 077 311 373 หรืออีเมล zone8@oae.go.th
***********************************
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และภูเก็ต) ตามการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ (Zoning by Agri - Map) พบว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้นความเหมาะสมต่างๆ (Agri-Map) มีจำนวน 7.14 ล้านไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก (S1) และเหมาะสมปานกลาง (S2) สำหรับการปลูกยางพารา 5.95 ล้านไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 2,850 บาท/ไร่ ในขณะที่พื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) สำหรับการปลูกยางพารา มีจำนวน 1.19 ล้านไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 1,683 บาท/ไร่
หากพิจารณาถึงพืชทางเลือกที่จะปรับเปลี่ยนในพื้นที่ปลูกยางพาราเขตพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ตามแผนที่ความเหมาะสมของดิน (Zoning) ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน พบว่า พืชทางเลือกที่เหมาะสมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง ได้แก่ สละ ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม และหมาก โดย สละ เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 22,214 บาท/ไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 30 ปี) ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,901 กก./ไร่ เกษตรกรขายได้ราคา 60-70 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 91,720 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่มีพ่อค้ารายย่อยมารับซื้อที่สวน และสามารถจัดการให้เก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน
ทุเรียน เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 21,719 บาท/ไร่ เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 6 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,080 กก./ไร่ เกษตรกรขายได้ราคา 60-70 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 48,446 บาท/ไร่/ปี เกษตรกรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 นิยมขายผลผลิตแบบเหมาสวนให้พ่อค้ารวบรวมส่งออก ซึ่งมีแหล่งรวบรวมหลักของภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร
มะพร้าวน้ำหอม เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 5,522 บาท/ไร่ เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,410 กก./ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี รอบตัดเก็บผลผลิตประมาณ 20-30 วัน/ครั้ง เกษตรกรขายได้ราคา 20-25 บาท/ผล ผลตอบแทนสุทธิ 28,686 บาท/ไร่/ปี แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่บริเวณเส้นทางท่องเที่ยวและมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่สวนเพื่อนำไปขายต่อในชุมชนเมืองและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งในรูปผลสดและแปรรูปทำวุ้นมะพร้าวอ่อน
หมาก เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 7,639 บาท/ไร่ เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 - 5 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 458 กก./ไร่ เกษตรกรขายหมากแห้งได้ราคา 40 - 45 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 27,013 บาท/ไร่/ปี ซึ่งตลาดมีความต้องการตลอดทั้งปี และมีจุดรับซื้อในท้องถิ่นตามฤดูกาล
ด้านนายบรรจบ ซุ้นสุวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) กล่าวเสริมว่า สำหรับข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนพืชทางเลือกข้างต้น เป็นข้อมูลที่ สศท.8 ได้ดำเนินการศึกษา ในปีเพาะปลูก 2560/61 นอกจากนี้ สศท.8 ยังลงพื้นที่ศึกษาเกษตรกรตัวอย่างที่มีการปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกยางไปปลูกพืชอื่นทดแทนหรือทำกิจกรรมเสริมรายได้ในสวนยางพารา พบว่า ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น การปลูกไผ่กิมซุง พริกไทย ผักเหมียง เห็ดนางฟ้า และการเลี้ยงแพะพื้นเมือง ซึ่งสินค้าดังกล่าวยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่อเนื่อง อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถแปรรูปผลผลิตต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย สำหรับท่านที่สนใจพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน สามารถขอคำแนะนำได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 โทร. 077 311 373 หรืออีเมล zone8@oae.go.th
***********************************