- หน้าแรก
- InfoGraphic
- รายละเอียดInfoGraphic
ข่าวที่ 104/2562 ไผ่สะดิ้ง ดูแลง่าย รายได้ดี สร้างกำไรปีแรกกว่า 3 หมื่นบาท
ไผ่สะดิ้ง ดูแลง่าย รายได้ดี สร้างกำไรปีแรกกว่า 3 หมื่นบาท
นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงพืชทางเลือก “ไผ่เลี้ยงทวาย” หรือ “ไผ่สะดิ้ง” ซึ่งเป็นพืชทางเลือกที่ช่วยสร้างรายได้ ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเลย โดยไผ่เลี้ยงที่นิยมปลูกเพื่อบริโภคและจำหน่ายในปัจจุบันมี 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปกติ และพันธุ์ทวาย โดยพันธุ์ปกติ จะออกหน่อในฤดูฝน ช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ส่วนพันธุ์ทวาย หรือที่ชาวบ้านเรียก อีกชื่อหนึ่งว่าไผ่สะดิ้ง จะสามารถออกหน่อได้ตลอดทั้งปี
สำหรับไผ่พันธุ์ทวาย เป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย ตลาดมีความต้องการมาก สามารถขายได้ทั้งในรูปหน่อสด และนำมาแปรรูป เช่น หน่อไม้ดองทั้งหน่อ หรือดองในรูปหน่อไม้สับ นอกจากนี้ การปลูกไผ่เลี้ยงทวายจะไม่มีการใช้สารเคมี เพราะจะทำให้หน่อไม้ตาย ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งจากการลงพื้นที่ของ สศท.3 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต และการตลาดไผ่เลี้ยงทวาย พบว่า จังหวัดเลย มีสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสม น้ำไม่ท่วมขังเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนที่สูง และสามารถเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้จึงเหมาะสมกับการปลูกไผ่ โดยเกษตรกรนิยมปลูก มากที่อำเภอภูกระดึง ซึ่งจากข้อมูลกรมส่งเสริมเกษตรกร (ข้อมูล ณ 26 กันยายน 2562) ปี 2562 มีเกษตรกรที่ปลูกไผ่ ลงทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอภูกระดึง จำนวน 350 ครัวเรือน รวมพื้นที่ 1,267 ไร่ มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,057 ไร่
จากการสัมภาษณ์ นายช่วย บุตรดาเวียง เกษตรกรเจ้าของแปลงเรียนรู้ต้นแบบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตไผ่ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดเลย และเป็นเครือข่าย ศพก. อำเภอภูกระดึง ณ บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย พบว่า เกษตรกรที่ปลูกไผ่สะดิ้งจะลงทุนในปีแรกรวม 30,675 บาท/ไร่ แยกเป็น ค่าต้นพันธุ์ 12,500 บาท (1 ไร่ปลูก 250 ต้นๆ ละ 50 บาท) ค่าปลูก 1,200 บาท ค่าปุ๋ยเคมี 1,650 ค่าปุ๋ยคอก 425 บาท ค่าระบบน้ำ 9,700 บาท ค่าไถปรับพื้นที่ 300 บาท ค่าไฟฟ้าสูบน้ำเฉพาะหน้าแล้ง 2,800 บาท ค่าฟางคลุมโคน 100 บาท และค่าดูแลรักษาเก็บเกี่ยว 2,000 บาท ทั้งนี้ ต้นทุนค่าต้นพันธุ์ ค่าไถปรับพื้นที่ ค่าปลูก และค่าระบบน้ำเป็นการลงทุนเฉพาะปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้น ในปีถัดไป จะมีรายจ่ายเฉพาะค่าปุ๋ยเคมี ค่าดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ตัดหญ้า และสางกิ่งแต่งกอ โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ไม่น้อยกว่า 15 ปี
สำหรับการปลูกไผ่สะดิ้ง ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกมีอายุประมาณ 1 ปี หากดูแลสม่ำเสมอจะสามารถจำหน่ายได้หลังจากการปลูก 8 - 10 เดือนขึ้นไป เกษตรกรสามารถทยอยเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ให้ผลผลิตในปีแรกประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยปกติราคาจะอยู่ที่ประมาณ 10 - 25 บาท/กิโลกรัม โดยราคาสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน แต่หากเป็นช่วงหน้าฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน ราคาจะลดลงเหลือประมาณ 5 - 10 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นรายได้สุทธิ (กำไร) ในปีแรกเกษตรกรจะได้ประมาณ 35,000 - 39,000 บาท/ไร่ และในปีถัดมาจะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท/ไร่/ปี ซึ่งจะมีพ่อค้าจากจังหวัดเลยและขอนแก่นมารับซื้อถึงสวน นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยง่าย และสามารถจำหน่ายต้นพันธุ์ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจได้อีกด้วย โดยราคาจำหน่ายต้นพันธุ์จะอยู่ประมาณ 50 บาท/ต้น
ดังนั้น การปลูกไผ่เลี้ยงทวาย หรือ ไผ่สะดิ้ง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้สนใจที่ต้องการทำเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายเพื่อลดความเสี่ยงจากพืชอื่น อีกทั้งการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีการใช้สารเคมี ทำให้เกษตรกร และผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี ทั้งนี้ เกษตรกรควรรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความเชื่อมั่น และควรมีการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายผลผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ นายช่วย บุตรดาเวียง และคุณสุวรรณา เรือนทอง บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โทร 090 586 0503 ซึ่งยินดี ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรทุกท่าน
***********************************
นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงพืชทางเลือก “ไผ่เลี้ยงทวาย” หรือ “ไผ่สะดิ้ง” ซึ่งเป็นพืชทางเลือกที่ช่วยสร้างรายได้ ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเลย โดยไผ่เลี้ยงที่นิยมปลูกเพื่อบริโภคและจำหน่ายในปัจจุบันมี 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปกติ และพันธุ์ทวาย โดยพันธุ์ปกติ จะออกหน่อในฤดูฝน ช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ส่วนพันธุ์ทวาย หรือที่ชาวบ้านเรียก อีกชื่อหนึ่งว่าไผ่สะดิ้ง จะสามารถออกหน่อได้ตลอดทั้งปี
สำหรับไผ่พันธุ์ทวาย เป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย ตลาดมีความต้องการมาก สามารถขายได้ทั้งในรูปหน่อสด และนำมาแปรรูป เช่น หน่อไม้ดองทั้งหน่อ หรือดองในรูปหน่อไม้สับ นอกจากนี้ การปลูกไผ่เลี้ยงทวายจะไม่มีการใช้สารเคมี เพราะจะทำให้หน่อไม้ตาย ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งจากการลงพื้นที่ของ สศท.3 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต และการตลาดไผ่เลี้ยงทวาย พบว่า จังหวัดเลย มีสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสม น้ำไม่ท่วมขังเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนที่สูง และสามารถเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้จึงเหมาะสมกับการปลูกไผ่ โดยเกษตรกรนิยมปลูก มากที่อำเภอภูกระดึง ซึ่งจากข้อมูลกรมส่งเสริมเกษตรกร (ข้อมูล ณ 26 กันยายน 2562) ปี 2562 มีเกษตรกรที่ปลูกไผ่ ลงทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอภูกระดึง จำนวน 350 ครัวเรือน รวมพื้นที่ 1,267 ไร่ มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,057 ไร่
จากการสัมภาษณ์ นายช่วย บุตรดาเวียง เกษตรกรเจ้าของแปลงเรียนรู้ต้นแบบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตไผ่ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดเลย และเป็นเครือข่าย ศพก. อำเภอภูกระดึง ณ บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย พบว่า เกษตรกรที่ปลูกไผ่สะดิ้งจะลงทุนในปีแรกรวม 30,675 บาท/ไร่ แยกเป็น ค่าต้นพันธุ์ 12,500 บาท (1 ไร่ปลูก 250 ต้นๆ ละ 50 บาท) ค่าปลูก 1,200 บาท ค่าปุ๋ยเคมี 1,650 ค่าปุ๋ยคอก 425 บาท ค่าระบบน้ำ 9,700 บาท ค่าไถปรับพื้นที่ 300 บาท ค่าไฟฟ้าสูบน้ำเฉพาะหน้าแล้ง 2,800 บาท ค่าฟางคลุมโคน 100 บาท และค่าดูแลรักษาเก็บเกี่ยว 2,000 บาท ทั้งนี้ ต้นทุนค่าต้นพันธุ์ ค่าไถปรับพื้นที่ ค่าปลูก และค่าระบบน้ำเป็นการลงทุนเฉพาะปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้น ในปีถัดไป จะมีรายจ่ายเฉพาะค่าปุ๋ยเคมี ค่าดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ตัดหญ้า และสางกิ่งแต่งกอ โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ไม่น้อยกว่า 15 ปี
สำหรับการปลูกไผ่สะดิ้ง ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกมีอายุประมาณ 1 ปี หากดูแลสม่ำเสมอจะสามารถจำหน่ายได้หลังจากการปลูก 8 - 10 เดือนขึ้นไป เกษตรกรสามารถทยอยเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ให้ผลผลิตในปีแรกประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยปกติราคาจะอยู่ที่ประมาณ 10 - 25 บาท/กิโลกรัม โดยราคาสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน แต่หากเป็นช่วงหน้าฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน ราคาจะลดลงเหลือประมาณ 5 - 10 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นรายได้สุทธิ (กำไร) ในปีแรกเกษตรกรจะได้ประมาณ 35,000 - 39,000 บาท/ไร่ และในปีถัดมาจะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท/ไร่/ปี ซึ่งจะมีพ่อค้าจากจังหวัดเลยและขอนแก่นมารับซื้อถึงสวน นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยง่าย และสามารถจำหน่ายต้นพันธุ์ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจได้อีกด้วย โดยราคาจำหน่ายต้นพันธุ์จะอยู่ประมาณ 50 บาท/ต้น
ดังนั้น การปลูกไผ่เลี้ยงทวาย หรือ ไผ่สะดิ้ง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้สนใจที่ต้องการทำเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายเพื่อลดความเสี่ยงจากพืชอื่น อีกทั้งการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีการใช้สารเคมี ทำให้เกษตรกร และผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี ทั้งนี้ เกษตรกรควรรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความเชื่อมั่น และควรมีการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายผลผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ นายช่วย บุตรดาเวียง และคุณสุวรรณา เรือนทอง บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โทร 090 586 0503 ซึ่งยินดี ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรทุกท่าน
***********************************
แหล่งข้อมูล
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี