- หน้าแรก
- InfoGraphic
- รายละเอียดInfoGraphic
ข่าวที่ 141/2562 สศก. แนะปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ทดแทนนาปรัง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
สศก. แนะปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ทดแทนนาปรัง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ระหว่างมิถุนายน - ธันวาคม 2562 พบความเสียหายครอบคลุมทุกภาครวม 19 จังหวัด ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2562 พบพื้นที่เสียหาย ด้านพืช 5,203,667 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 4,359,136 ไร่ พืชไร่ 804,664 ไร่ พืชสวนและอื่น ๆ 3,866 ไร่ รวมมูลค่าความเสียหาย 5,822.07 ล้านบาท และพบว่าสถานการณ์ภัยแล้งยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแผนและมาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือ และลดผลกระทบที่เกิดจากความเสียหาย เช่น มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคเกษตร มาตรการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย และสร้างความตระหนักให้เกษตรกรรับรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อปรับตัวรองรับสถานการณ์ เช่น ปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจาก Big Data ด้านการเกษตร เพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการผลิตซึ่งปีเพาะปลูก 2562/63 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก โดยดำเนินการ จัดทำแผนการจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 รวมพื้นที่ 7.21 ล้านไร่ทั่วประเทศ แยกเป็น ข้าวนาปรัง (รอบที่ 2) 4.54 ล้านไร่ และพืชไร่ - พืชผัก 2.67 ล้านไร่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ใช้น้ำน้อยเพื่อช่วยประหยัดน้ำ อีกทั้งลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการลดผลกระทบจากภัยแล้งได้ในระดับหนึ่ง
ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สศก. กล่าวว่า จากการศึกษาถึงแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจระดับภาค โดยใช้ Agri-Map และ Big data พบว่า พืชทางเลือกที่เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนจากการทำนาปรังมาเป็นพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย มีหลายชนิดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มพืชผักสวนครัว ซึ่งสามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาค อาทิ คะน้า ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 55 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 13,050 บาท/ไร่/รอบ กวางตุ้ง ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 18,082 บาท/ไร่/รอบ ถั่วฝักยาว ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 80 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 7,836 บาท/ไร่/รอบ แตงกวา ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 35 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 9,934 บาท/ไร่/รอบ มะระจีน ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 50 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 12,792 บาท/ไร่/รอบ และ พริก ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 70 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 20,682 บาท/ไร่/รอบ
สำหรับผลผลิตในกลุ่มพืชผัก นอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารแล้ว ในตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยมีห้างค้าปลีกเป็นผู้รับซื้อผลผลิตรายใหญ่ และมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงแหล่งผลิต ตลอดจนตลาดพืชผักปลอดภัยที่มีความต้องการในกลุ่มผู้รักสุขภาพที่แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่ในตลาดเฉพาะ เช่น โรงพยาบาล และแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น อีกทั้งสามารถต่อยอดการตลาดให้กับกลุ่มแปรรูปหรือโรงงาน เพื่อบรรจุภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจำหน่ายโดยสามารถบริหารจัดการให้เชื่อมโยงตลาดจากพ่อค้าคนกลางในท้องที่ จนถึงโรงงานแปรรูป อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด เช่น การผลิตตามมาตรฐาน GAP แบบครบวงจร ทั้งนี้ ท่านที่สนใจข้อมูลผลการศึกษา สามารถสอบถามได้ที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร โทร. 0 2940 6674 หรือสามารถสอบถามข้อมูลพืชทางเลือกในแต่ละจังหวัดได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 - 12 ในพื้นที่จังหวัดรับผิดชอบทั่วประเทศ
*******************************
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ระหว่างมิถุนายน - ธันวาคม 2562 พบความเสียหายครอบคลุมทุกภาครวม 19 จังหวัด ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2562 พบพื้นที่เสียหาย ด้านพืช 5,203,667 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 4,359,136 ไร่ พืชไร่ 804,664 ไร่ พืชสวนและอื่น ๆ 3,866 ไร่ รวมมูลค่าความเสียหาย 5,822.07 ล้านบาท และพบว่าสถานการณ์ภัยแล้งยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแผนและมาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือ และลดผลกระทบที่เกิดจากความเสียหาย เช่น มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคเกษตร มาตรการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย และสร้างความตระหนักให้เกษตรกรรับรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อปรับตัวรองรับสถานการณ์ เช่น ปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจาก Big Data ด้านการเกษตร เพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการผลิตซึ่งปีเพาะปลูก 2562/63 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก โดยดำเนินการ จัดทำแผนการจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 รวมพื้นที่ 7.21 ล้านไร่ทั่วประเทศ แยกเป็น ข้าวนาปรัง (รอบที่ 2) 4.54 ล้านไร่ และพืชไร่ - พืชผัก 2.67 ล้านไร่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ใช้น้ำน้อยเพื่อช่วยประหยัดน้ำ อีกทั้งลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการลดผลกระทบจากภัยแล้งได้ในระดับหนึ่ง
ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สศก. กล่าวว่า จากการศึกษาถึงแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจระดับภาค โดยใช้ Agri-Map และ Big data พบว่า พืชทางเลือกที่เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนจากการทำนาปรังมาเป็นพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย มีหลายชนิดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มพืชผักสวนครัว ซึ่งสามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาค อาทิ คะน้า ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 55 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 13,050 บาท/ไร่/รอบ กวางตุ้ง ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 18,082 บาท/ไร่/รอบ ถั่วฝักยาว ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 80 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 7,836 บาท/ไร่/รอบ แตงกวา ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 35 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 9,934 บาท/ไร่/รอบ มะระจีน ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 50 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 12,792 บาท/ไร่/รอบ และ พริก ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 70 วัน/รอบ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 20,682 บาท/ไร่/รอบ
สำหรับผลผลิตในกลุ่มพืชผัก นอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารแล้ว ในตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยมีห้างค้าปลีกเป็นผู้รับซื้อผลผลิตรายใหญ่ และมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงแหล่งผลิต ตลอดจนตลาดพืชผักปลอดภัยที่มีความต้องการในกลุ่มผู้รักสุขภาพที่แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่ในตลาดเฉพาะ เช่น โรงพยาบาล และแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น อีกทั้งสามารถต่อยอดการตลาดให้กับกลุ่มแปรรูปหรือโรงงาน เพื่อบรรจุภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจำหน่ายโดยสามารถบริหารจัดการให้เชื่อมโยงตลาดจากพ่อค้าคนกลางในท้องที่ จนถึงโรงงานแปรรูป อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด เช่น การผลิตตามมาตรฐาน GAP แบบครบวงจร ทั้งนี้ ท่านที่สนใจข้อมูลผลการศึกษา สามารถสอบถามได้ที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร โทร. 0 2940 6674 หรือสามารถสอบถามข้อมูลพืชทางเลือกในแต่ละจังหวัดได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 - 12 ในพื้นที่จังหวัดรับผิดชอบทั่วประเทศ
*******************************
แหล่งข้อมูล
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร