- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
ร่วมลงพื้นที่ รมต.ช่วยฯ กษ._จ.ศรีสะเกษ
วันที่ 15 มีนาคม 2564 นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 มอบหมายให้ นางสาวภิรมศรี บุญทน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ส่วนวิจัยและประเมินผล ลงพื้นที่พร้อมคณะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อติดตามความคืบหน้าการจ่ายเงินชดเชยเขื่อนหัวนาและเขื่อนราษีไศล เบื้องต้นคาดว่าน่าจะอนุมัติจ่ายได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2564 ในการนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมหารือร่วมกับคณะทำงานการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนหัวนาและเขื่อนราษีไศล และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (นายวัฒนา พุฒิชาติ) และผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ รายงานสภาพปัญหาตลอดจนแนวทางการให้ความช่วยเหลือที่ผ่านมา ทั้งนี้ เขื่อนหัวนาดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 แล้วเสร็จ ในปี 2542 ซึ่งเกษตรกรได้รับผลกระทบช่วงน้ำหลาก ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมนาข้าวจนได้รับความเสียหายมากว่า 30 ปี และขณะนี้ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา
ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชนจึงได้เร่งรัดให้แก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยกำหนดแนวทางเยียวยาให้แก่เกษตรกรแบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดแรก เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนหัวนา จำนวน 104 แปลง เป็นเงินกว่า 62 ล้านบาท และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราศีไศลอีกด้วยประมาณ 70 ล้านบาท จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการจ่ายเงินเยียวยาตามที่ได้พิสูจน์สิทธิ์อย่างชัดเจนแล้ว คาดว่าจะได้รับภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ส่วนชุดที่ 2 อีก 352 แปลง จะประชุมเพื่อสรุปแนวทางการจ่ายเงินในการประชุมครั้งต่อไป และชุดที่ 3 เป็นชุดที่มีการร้องคัดค้าน ซึ่งคณะทำงานฯ ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงสิทธิ์การครอบครองที่ดินอีกครั้ง เพื่อความชัดเจนและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชนจึงได้เร่งรัดให้แก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยกำหนดแนวทางเยียวยาให้แก่เกษตรกรแบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดแรก เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนหัวนา จำนวน 104 แปลง เป็นเงินกว่า 62 ล้านบาท และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราศีไศลอีกด้วยประมาณ 70 ล้านบาท จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการจ่ายเงินเยียวยาตามที่ได้พิสูจน์สิทธิ์อย่างชัดเจนแล้ว คาดว่าจะได้รับภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ส่วนชุดที่ 2 อีก 352 แปลง จะประชุมเพื่อสรุปแนวทางการจ่ายเงินในการประชุมครั้งต่อไป และชุดที่ 3 เป็นชุดที่มีการร้องคัดค้าน ซึ่งคณะทำงานฯ ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงสิทธิ์การครอบครองที่ดินอีกครั้ง เพื่อความชัดเจนและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย