ด้านการวิจัย

การตัดสินใจปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา

        การวิจัยเรื่อง การตัดสินใจปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรยางพาราซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสมในจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม ผลการศึกษาลักษณะและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการการปรับเปลี่ยนกิจกรรมของเกษตรกร จำแนกออกเป็น 4 สถานการณ์ ดังนี้
     กรณีที่หนึ่ง เกษตรกรไม่มีการเปลี่ยนแปลงการผลิต พบว่า ยางพารามีอายุเฉลี่ย 13.31 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว ใช้แรงงานครัวเรือน 2 รายและ แรงงานจ้าง 1 รายต่อครัวเรือน จำหน่ายผลผลิตในรูปแบบขี้ยาง/เศษยาง รายได้จากยางพาราและรายได้อื่นในภาคเกษตรสูงกว่ารายได้นอกภาคการเกษตร เกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนของตนเอง มีการปรับปรุงวิธีการผลิตและเข้ารับการถ่ายทอดความรู้เพิ่มเติม รวมทั้งได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ สระน้ำในไร่นา และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เป็นต้น เกษตรกรเลือกที่จะปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากต้นทุนในการดูแลและการลงทุนไม่สูงรวมทั้งมีรายได้ทุกวัน


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari