แวดวงข่าว สศท.1
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ( Chief of Operation) จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 8/2563
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นางสุจารีย์ พิชา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร (นางสาววิภาวัลย์ ศรีจำนงค์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ) ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ( Chief of Operation) จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 8/2563 โดยมี นายสมมารถ สยมภาค เกษตรจังหวัดลำปาง เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง โดยสำนักเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2563 และแนวโน้มปี 2563 สำหรับเครื่องชี้ทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรอยู่ที่ระดับ 39.6 หดตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรสาขาพืช และประมง ลดลง ส่วนดัชนีราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ระดับ 89.5 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สุกร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรอยู่ที่ระดับ 35.4 หดตัวร้อยละ 6.1 สำหรับสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตร ไตรมาส 3 ปี 2563 สาขาปศุสัตว์ ร้อยละ 45.0 สาขาบริการทางการเกษตร ร้อยละ 32.5 สาขาพืช 18.9 สาขาประมง ร้อยละ 3.0 สาขาป่าไม้ 0.6 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 1.0 สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.0 จาก ปริมาณไก่เนื้อ ลดลงร้อยละ 2.0 จากผลกระทบต่อเนื่องของโรคระบาด COVID 19 ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และปริมาณสุกร ในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลาย ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างจังหวัด สาขาพิช หดตัวร้อยละ 6.3 จากสินค้า ลำไย ลดลงร้อยละ 10.5 เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ปริมาณฝนน้อยและทิ้งช่วง ประกอบกับอากาศร้อนทำให้ช่อดอกร่วง ลูกเล็กโตไม่เต็มที่ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง สาขาประมง หดตัวร้อยละ 6.6 เนื่องจากภาวะภัยแล้งปริมาณน้ำในแหล่งธรรมชาติน้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงปลา ประกอบกับแหล่งผลิตพันธุ์ปลาประสบภัยแล้ง อากาศเปลี่ยนแปลงจึงผลิตพันธุ์ปลาได้น้อยลง สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.7 เนื่องจากเกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลงมาในไตรมาส 3 จึงส่งผลให้การจ้างเครื่องจักรในการเตรียมดินเพิ่มขึ้น สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 6.5 การทำไม้สักเพิ่มขึ้นตามแผนการทำไม้ สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2563 คาดการณ์ภาพรวมภาคเกษตร อยู่ในช่วง (-3.3%) – (-2.3%) สาขาพืช คาดการณ์อยู่ในช่วง (-4.1%) - (-3.1%) สาขาปศุสัตว์ คาดการณ์อยู่ในช่วง (-0.1%) - 0.9% สาขาประมง คาดการณ์อยู่ในช่วง (-5.7%) - (-4.7%) สาขาบริการทางการเกษตร คาดการณ์อยู่ในช่วง (-4.9%) – (-3.9%) สาขาป่าไม้ คาดการณ์อยู่ในช่วง 6.0% - 7.0% ซึ่งเกิดจากปัจจัยทั้งสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง สถานการณ์การระบาด COVID-19 และนโยบายภาครัฐด้านการเกษตรที่ช่วยเหลือเกษตรกร
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=zone1chm&set=a.3618641728229372