การจัดการองค์ความรู้ (KM)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 นำเสนอภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2566 จังหวัดลำปาง
วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 นายธวัชชัย เดชาเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (ผอ.สศท.1) มอบหมายให้นางสาววิภาวัลย์ ศรีจำนงค์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง โดยมี นางสาวรตนพร กิติกาศ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นประธาน
ในการนี้ สศท.1 นำเสนอภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 จังหวัดลำปาง โดยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566 ขยายตัว 5.9 จากสาขาพืช ปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 5.6 4.8 15.2 และ 2.7 ตามลำดับ จากปริมาณน้ำ สภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับราคาจูงใจให้เกษตรกรเพราะปลูก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตพืช กระเทียมและมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของกรมปศุสัตว์มาตรฐาน GFM ส่งผลให้เกษตรกรสามารถกลับเลี้ยงสุกรได้ หลังจากการเกิดโรคระบาดในสุกร ในขณะสาขาประมง หดตัวร้อยละ 1.2 จากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ พันธุ์ปลา อาหารปลา ทำให้เกษตรกรลดปริมาณการผลิต
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3% - 2.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ภาครัฐดำเนินนโยบายการเกษตรเพื่อส่งเสริมการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และสถานการณ์ความไม่สงบในต่างประเทศ(รัสเซีย-ยูเครน) ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และน้ำมัน ส่งผลต่อการผลิตภาคการเกษตร
ในการนี้ สศท.1 นำเสนอภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 จังหวัดลำปาง โดยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566 ขยายตัว 5.9 จากสาขาพืช ปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 5.6 4.8 15.2 และ 2.7 ตามลำดับ จากปริมาณน้ำ สภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับราคาจูงใจให้เกษตรกรเพราะปลูก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตพืช กระเทียมและมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของกรมปศุสัตว์มาตรฐาน GFM ส่งผลให้เกษตรกรสามารถกลับเลี้ยงสุกรได้ หลังจากการเกิดโรคระบาดในสุกร ในขณะสาขาประมง หดตัวร้อยละ 1.2 จากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ พันธุ์ปลา อาหารปลา ทำให้เกษตรกรลดปริมาณการผลิต
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3% - 2.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ภาครัฐดำเนินนโยบายการเกษตรเพื่อส่งเสริมการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และสถานการณ์ความไม่สงบในต่างประเทศ(รัสเซีย-ยูเครน) ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และน้ำมัน ส่งผลต่อการผลิตภาคการเกษตร
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=zone1chm&set=a.559944472975152