การจัดการองค์ความรู้ (KM)


 

แนวทางการจัดการความรู้ สศท.1 ปี 2566

แนวทางการจัดการความรู้ สศท.1 ปี 2566

ดาวน์โหลด PDF

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 ร่วมประชุมคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคเหนือ ครั้งที่ 3/2566

        วันที่ 26 มิถุนายน 2566 นายธวัชชัย เดชาเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (สศท.1) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลอละโลจิสติกส์ภาคเหนือ ครั้งที่ 3/2566 โดยเป็นการสัมนาจัดทำข้อมูลและบูรณาการแผนบริหารจัดการผลไม้ (ลำไยและลิ้นจี่) ระดับภาคเหนือ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เข้าร่วม ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนจากหน่วยงานในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม2 ชั้น 2 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 และผ่านระบบประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meeting โดยมีนางสาวปริยาพร เสนกาศ นักวิชาการสถิติชำนาญการพิเศษ นำเสนอผลคาดการณ์ข้อมูลสินค้าทั้ง 2 ชนิด ร่วมกับคณะทำงานผู้มีส่วนได้เสียข้อมูล สรุปผลภาพรวมได้ดังนี้ 
        ลิ้นจี่ ปี 2566 พบว่า เนื้อที่ยืนต้นจำนวน 76,847 ไร่ ลดลง 5,600 ไร่ (ลดลงร้อยละ 6.79) เนื้อที่ให้ผลจำนวน 75,604 ไร่ ลดลง 5,485 ไร่ (ลดลงร้อยละ 6.76)  ผลผลิต 34,620 ตัน ลดลง 5,341 ตัน (ลดลงร้อยละ 13.37) เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย อากาศหนาวเย็นไม่ต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ ทำให้ลิ้นจี่ออกดอกช้ากว่าปกติ ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ 95 ของผลผลิตทั้งหมด อีกร้อยละ 5 จะออกสู่ตลาดเสร็จสิ้นในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
         ส่วนลำไย ปี 2566 เนื้อที่ยืนต้นจำนวน 1,270,319 ไร่ ลดลง 18,438 ไร่ (ลดลงร้อยละ 1.43) เนื้อที่ให้ผลจำนวน 1,243,475 ไร่ ลดลง 4,507 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.36) ผลผลิตจำนวน 972,330 ตัน ลดลง 51,578 ตัน (ลดลงร้อยละ 5.04) โดยแยกเป็นลำไยในฤดู จำนวน 641,919 ตัน ลดลง 97,243 ตัน (ลดลง ร้อยละ 13.16) เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย อากาศหนาวเย็นไม่ต่อเนื่อง และในปีที่ผ่านมาราคาที่เกษตรกรขายได้ไม่ดี เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุน ส่งผลให้เกษตรกรดูแล บำรุงต้นลำไยน้อยลง อีกทั้งเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปทำลำไยนอกฤดู ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตจำนวน 330,441 ตัน เพิ่มขึ้น 45,665 ตัน (เพิ่ม ร้อยละ 16.04) เนื่องจากราคาลำไยนอกฤดูอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรพอใจ จูงใจให้เกษตรกรดูแล บำรุงรักษาต้นลำไยเป็นอย่างดี และปริมาณน้ำเพียงพอต่อการทำลำไยนอกฤดู ส่งผลให้ผลผลิตลำไยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ผลผลิตลำไยในฤดูจะทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน และมากสุดในเดือนสิงหาคม

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/media/set?vanity=zone1chm&set=a.579659931003606


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari