- หน้าแรก
- ข่าวผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวผู้บริหาร
ผอ.สศท.2 ร่วมรับฟังการชี้แจง ITA ปีงบประมาณ 2566
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) พร้อมด้วยผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าฝ่าย และผู้แทนฯ เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จากส่วนนิติการ วินัย และเสริมสร้างคุณธรรม ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต และ กลุ่มงานจริยธรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
วัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงให้บุคลากรในสังกัด สศก. รับทราบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ITA ดังนี้
1. ความสำคัญของ ITA ที่เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีการบริหารงานภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ
2. กรอบการประเมินที่มีตัวชี้วัด จำนวน 10 ตัวชี้วัด ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ (Bribery-Fraud) การใช้งบประมาณ (Budget Misallocation) การใช้อำนาจ (Power Distortion) การใช้ทรัพย์สินของราชการ (Asset Misappropriation) การแก้ไขปัญหาการทุจริต (Anti-Corruption Improvement) คุณภาพการดำเนินงาน (Service Quality) ประสิทธิภาพการสื่อสาร (Communication Efficiency) การปรับปรุงระบบการทำงาน (Communication Improvement) การเปิดเผยข้อมูล (Open Data) และการป้องกันการทุจริต (Anti-Corruption Practice)
3. เครื่องมือในการประเมิน จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายใน Internal Integrity and Transparency Assessment (IIT) 2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก External Integrity and Transparency Assessment (EIT) และ 3) แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT)
4. การชี้แจงข้อคำถามให้แก่บุคลากร สศก. ให้เกิดความเข้าใจคำถาม และพิจารณาคำตอบที่เหมาะสมต่อองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมในการสุ่มประเมิน ITA ต่อไป
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)
วัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงให้บุคลากรในสังกัด สศก. รับทราบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ITA ดังนี้
1. ความสำคัญของ ITA ที่เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีการบริหารงานภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ
2. กรอบการประเมินที่มีตัวชี้วัด จำนวน 10 ตัวชี้วัด ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ (Bribery-Fraud) การใช้งบประมาณ (Budget Misallocation) การใช้อำนาจ (Power Distortion) การใช้ทรัพย์สินของราชการ (Asset Misappropriation) การแก้ไขปัญหาการทุจริต (Anti-Corruption Improvement) คุณภาพการดำเนินงาน (Service Quality) ประสิทธิภาพการสื่อสาร (Communication Efficiency) การปรับปรุงระบบการทำงาน (Communication Improvement) การเปิดเผยข้อมูล (Open Data) และการป้องกันการทุจริต (Anti-Corruption Practice)
3. เครื่องมือในการประเมิน จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายใน Internal Integrity and Transparency Assessment (IIT) 2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก External Integrity and Transparency Assessment (EIT) และ 3) แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT)
4. การชี้แจงข้อคำถามให้แก่บุคลากร สศก. ให้เกิดความเข้าใจคำถาม และพิจารณาคำตอบที่เหมาะสมต่อองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมในการสุ่มประเมิน ITA ต่อไป
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)