ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น

สศท.2 ร่วมประชุม การประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2565 นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2) มอบหมายให้ นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการส่วนสารสนเทศการเกษตร พร้อมด้วย นางสาวปานรดา ถาเรือน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM ณ ห้องประชุม สศท.2 และในวันที่ 6-7 จะเดินทางไปร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมในพื้นที่โครงการฯ ต.บัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน

สำหรับวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 สศท.2 ร่วมอภิปราย และเสนอแนะมุมมองในมิติของความคุ้มค่าของโครงการด้านผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบเชิงบวกจากการดำเนินโครงการ เพื่อเติมเต็มการสร้างความสำเร็จของการดำเนินโครงการ ให้สามารถใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาพื้นที่ ในด้านการประเมินความเปราะบาง และการปรับตัวต่อ Climate Change เพื่อการฟื้นฟูและความยั่งยืนของที่ราบสูงได้อย่างแท้จริง มีสาระสำคัญดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ ในเรื่องของความยั่งยืนของกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงด้านต่างๆ ทั้งข้อจำกัดด้านพื้นที่ Climate Change การเข้าถึงทรัพยากรและโครงสร้างในพื้นที่ ความขัดแย้งของกลุ่มคนในชุมชน และภัยพิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

2. การพัฒนาปรับปรุง Mindset ให้เป็น Growth Mindset หรือปรับทัศนคติของชุมชน ทั้งกลุ่มผู้นำ เกษตรกร และคนในชุมชน ให้รู้จักสภาพตนเอง รู้ปัญหา รู้ถึงความจำเป็นของแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ การเปิดรับ และต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไข

3. แนวทางการปรับตัวภาคเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาคเกษตรไทยในยุค Disruptive Change หรือVUCA World ของ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ว่า “ภาคเกษตรไทยต้องพลิกโฉมสู่การผลิตน้อยได้มาก (Less is More) แทนการผลิตแบบเดิม (More is Less) ใครปรับตัวได้ไวจะอยู่รอดได้ โดยนำเสนอถึงผลผลิต ผลลัพธ์ของการส่งเสริมและพัฒนา Value Chain สินค้าในยุคอนาคตอย่างไรบ้าง เช่น สินค้ากลุ่ม Functional Foods / Medical Foods/Organic Foods

4. การสานพลัง (Collaboration) สนับสนุนช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาแต่ละประเด็นระหว่างภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ต้องดำเนินการได้อย่างแท้จริง และยั่งยืน

5. การฉายภาพอนาคตให้เห็นถึงความยั่งยืนของการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของคนในชุมชน (การปรับเปลี่ยนกิจกรรมผลิตทางการเกษตรในพื้นที่) /โภชนาการของคนในชุมชน/ การจ้างงานที่มากขึ้น/ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนคุณภาพชีวิต และสุขภาพของคนในชุมชน ว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด

ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari