- หน้าแรก
- เนื้อหาข่าว
รกท.ผอ.สศท.2 ร่วมประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต และผู้รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2567
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2 (รกท.ผอ.สศท.2พิษณุโลก) และผู้อำนวยการส่วนสารสนเทศการเกษตร พร้อมด้วย นางสุธาทิพย์ ศรีสรรพกิจ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ( Mr.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สศท.2) เข้าร่วมประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต และผู้รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2567 โดย นายเรืองพจน์ ธารานาถ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ (ผอ.สสก.6 เชียงใหม่) เป็นประธานการประชุม มี สศท.1,2,12 ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมเมล็ดพันธุ์ไทย และสำนักงานเกษตรจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ และเกษตรกรผู้นำในระดับพื้นที่ เข้าร่วมประชุมด้วย
วัตถุประสงค์ดังนี้
1. รับทราบสถานการณ์การผลิต การตลาด ระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ (ภาคเหนือตอนบน ตอนล่าง รวม 17 จังหวัด)
2. รับทราบสถานการณ์การรับซื้อและแนวโน้มความต้องการข้าวโพดฯ ในภาคอุตสาหกรรม
3. รับทราบเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฯตาก จาก นายจำลอง สงวนสุข ประธาน ศพก. อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ และนายอภิสิทธิ์ กันทาวงษ์ แกนนำเกษตร อ.บ้านตาก จ.ตาก
4. พิจารณากิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ทั้งนี้ รกท.ผอ.สศท.2 ได้นำเสนอข้อมูลคาดการณ์ภาวะการผลิต (ภาวะการผลิต สัดส่วนการผลิต) การตลาด (ราคา วิถีตลาด) ปีเพาะปลูก 2567/68 เปรียบเทียบกับปีเพาะปลูก 2566/67 และยินดีรับข้อเสนอจากที่ประชุมในการจัดทำต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นำร่อง สศท.ละ 1 จังหวัด โดยจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกปฏิบัติในระดับจังหวัดร่วมกันระหว่าง สศท.และสนง.เกษตรจังหวัด
ข้อคิดเห็นจากภาคเอกชน
1 เกษตรกรควรลดต้นทุนการผลิต อาจต้องใช้เมล็ดพันธุ์ GMO พันธุ์ต้านทานโรค ผลผลิตสูง และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต อาทิ การจัดทำระบบน้ำเสริมในแปลง
2.เกษตรกรควรติดตามสถานการณ์ข้อมูลราคา เปรียบเทียบระหว่างสถานประกอบการรับซื้อต่างๆ และสาเหตุความแตกต่าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเกษตรกรเอง
3.เกษตรกรควรหาวิธีลดความชื้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต ให้เกษตรกรจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น
ข้อคิดเห็นจากเกษตรกรผู้นำในแหล่งผลิตสำคัญ
1.เกษตรกรเสนอให้ภาครัฐดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร อาทิ ชดเชยรายได้ จากต้นทุนน้ำมัน ปุ๋ยเคมี ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควรมีเงินทุนหมุนเวียนในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 0.01)
2.นายอภิสิทธิ์ กันทาวงศ์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัวอย่าง ในอ.บ้านตาก ได้ดำเนินการสนับสนุนมาตรการลดการเผาโดยการปลูกข้าวโพดรุ่น 1 แล้วใช้เครื่องอัดก้อนเศษวัสดุเพื่อจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ รวมทั้งปล่อยโคเนื้อให้ลงมากินเศษวัสดุในแปลงข้าวโพดทำให้ได้มูลสัตว์ กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เกิดการย่อยสลายที่ขึ้น เป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น)
3.หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ข่าวสาร จากการถอดบทเรียนให้เกษตรกรรับทราบถึงประโยชน์ทีเกิดขึ้น
ข้อคิดเห็นจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปัจจุบัน กษ. ร่วมกัน ธกส. ผลักดันโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หากได้รับความเห็นชอบจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้รับทราบร่วมกันทั่วทั้งประเทศ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)
วัตถุประสงค์ดังนี้
1. รับทราบสถานการณ์การผลิต การตลาด ระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ (ภาคเหนือตอนบน ตอนล่าง รวม 17 จังหวัด)
2. รับทราบสถานการณ์การรับซื้อและแนวโน้มความต้องการข้าวโพดฯ ในภาคอุตสาหกรรม
3. รับทราบเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฯตาก จาก นายจำลอง สงวนสุข ประธาน ศพก. อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ และนายอภิสิทธิ์ กันทาวงษ์ แกนนำเกษตร อ.บ้านตาก จ.ตาก
4. พิจารณากิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ทั้งนี้ รกท.ผอ.สศท.2 ได้นำเสนอข้อมูลคาดการณ์ภาวะการผลิต (ภาวะการผลิต สัดส่วนการผลิต) การตลาด (ราคา วิถีตลาด) ปีเพาะปลูก 2567/68 เปรียบเทียบกับปีเพาะปลูก 2566/67 และยินดีรับข้อเสนอจากที่ประชุมในการจัดทำต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นำร่อง สศท.ละ 1 จังหวัด โดยจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกปฏิบัติในระดับจังหวัดร่วมกันระหว่าง สศท.และสนง.เกษตรจังหวัด
ข้อคิดเห็นจากภาคเอกชน
1 เกษตรกรควรลดต้นทุนการผลิต อาจต้องใช้เมล็ดพันธุ์ GMO พันธุ์ต้านทานโรค ผลผลิตสูง และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต อาทิ การจัดทำระบบน้ำเสริมในแปลง
2.เกษตรกรควรติดตามสถานการณ์ข้อมูลราคา เปรียบเทียบระหว่างสถานประกอบการรับซื้อต่างๆ และสาเหตุความแตกต่าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเกษตรกรเอง
3.เกษตรกรควรหาวิธีลดความชื้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต ให้เกษตรกรจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น
ข้อคิดเห็นจากเกษตรกรผู้นำในแหล่งผลิตสำคัญ
1.เกษตรกรเสนอให้ภาครัฐดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร อาทิ ชดเชยรายได้ จากต้นทุนน้ำมัน ปุ๋ยเคมี ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควรมีเงินทุนหมุนเวียนในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 0.01)
2.นายอภิสิทธิ์ กันทาวงศ์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัวอย่าง ในอ.บ้านตาก ได้ดำเนินการสนับสนุนมาตรการลดการเผาโดยการปลูกข้าวโพดรุ่น 1 แล้วใช้เครื่องอัดก้อนเศษวัสดุเพื่อจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ รวมทั้งปล่อยโคเนื้อให้ลงมากินเศษวัสดุในแปลงข้าวโพดทำให้ได้มูลสัตว์ กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เกิดการย่อยสลายที่ขึ้น เป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น)
3.หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ข่าวสาร จากการถอดบทเรียนให้เกษตรกรรับทราบถึงประโยชน์ทีเกิดขึ้น
ข้อคิดเห็นจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปัจจุบัน กษ. ร่วมกัน ธกส. ผลักดันโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หากได้รับความเห็นชอบจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้รับทราบร่วมกันทั่วทั้งประเทศ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)