วิสัยทัศน์

“องค์กรนำในการพัฒนาภาคเกษตร และเป็นศูนย์กลางสารสนเทศการเกษตรในระดับพื้นที่ ภายในปี 2570”


พันธกิจ

  1. เสนอแนะนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา และมาตรการทางการเกษตรในระดับพื้นที่
  2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเศรษฐกิจการเกษตร รวมทั้งจัดทำรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรในระดับพื้นที่
  3. ติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่
  4. จัดทำและบริการข้อมูลสารสนเทศการเกษตร

ค่านิยมร่วม

“SMART OAE” ประกอบด้วย

  • S (Specialized) คือ ความเชี่ยวชาญ
  • M (Moral) คือ มีคุณธรรม
  • A (Accountable) คือ มีความรับผิดชอบ
  • R (Rational) คือ มีเหตุผล
  • T (Targetable) คือ มีเป้าหมาย
  • OAE (Office of Agricultural Economics) คือ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

วัฒนธรรมองค์การ

วัฒนธรรมองค์การ สศก. “BALANCE”

  • B (Body Healthy and Buddy Teamwork) คือ สุขภาพแข็งแรง ทำงานเป็นทีม
  • A (Activities and Actions with Friends and Societies) คือ ร่วมกิจกรรมเพื่อมนุษยสัมพันธ์และสังคม
  • L (Love and Happiness with Your Work and Leave Legacy) คือ รักและสนุกกับการทำงาน
  • A (Award Achievement) คือ ให้รางวัลทุกความสำเร็จ
  • N (Necessary Spending Saving and Starting Investment) คือ ใช้จ่ายรอบคอบ เก็บออม เริ่มลงทุน
  • C (Care of Family Yourself and Social Responsibility) คือ รักตนเอง ครอบครัว รับผิดชอบสังคม
  • E (Education Endless) คือ ใฝ่หาความรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต

วัฒนธรรมองค์การ สศท.2

“มุ่งมั่นพัฒนาตน ให้เป็นคนทำงานเชิงรุก ทันต่อเหตุการณ์ เน้นบูรณาการงานดีเยี่ยม เปี่ยมด้วยความรู้รอบด้านเชี่ยวชาญงานตามพันธกิจ มีจิตอาสาต่อองค์กร”


เป้าประสงค์

  1. องค์กรนำในการพัฒนาภาคการเกษตร และเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการเกษตรในระดับพื้นที่
  2. พัฒนาองค์กรสู่ระบบราชการสมัยใหม่ และยกระดับศักยภาพของบุคลากร เพื่อรองรับพันธกิจของ สศท.2 และ สศก.

เป้าหมาย

  1. มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ข้อมูลสินค้าเกษตรสำคัญระดับจังหวัด ผลงานวิจัย/ประเมินผล และแผนพัฒนาการเกษตร ที่ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่
  2. บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำงานเชิงรุก คิดเชิงระบบ มีทัศนคติเชิงบวกในการปฏิบัติงาน มีภาวะผู้นำ และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

  1. มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการเกษตร และมีการปรับปรุงข้อมูล อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน
  2. จัดทำข้อมูลด้านเศรษฐกิจ หรือรายงานวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าเกษตรระดับจังหวัด อย่างน้อย 2 ครั้ง/จังหวัด/ปี
  3. แผนการพัฒนา/มาตรการทางการเกษตร/ข้อเสนอเชิงนโยบาย/รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเกษตร ได้รับความเห็นชอบให้นำไปใช้ประโยชน์ 2 เรื่อง/ปี
  4. นำเสนอผลงานวิจัยในเวทีวิชาการนำเสนอต่อคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่าง ๆ 2 เรื่อง/ปี
  5. บุคลากร สศท.2 ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำงานเชิงรุก คิดเชิงระบบ มีทัศนคติเชิงบวกในการปฏิบัติงาน มีภาวะผู้นำ และพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ต่อปี

ที่มา : แผนพัฒนาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari