ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวผู้บริหาร

รกท.ผอ.สศท.2 ร่วมประชุมหารือ ป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ในภาคเกษตร

รกท.ผอ.สศท.2 พิษณุโลก ร่วมประชุมหารือแนวทางการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมการพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในภาคเกษตร ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (รกท.ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) พร้อมด้วย นายชาติ เนาวพนานนท์ นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ ร่วมประชุมหารือแนวทางการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมการพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในภาคเกษตร ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีรองปลัดกษ. (รองฯ เศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์) ร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดพิษณุโลก ณ ห้องประชุมพระอัฎฐารส สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมได้ดังนี้
•สถานการณ์ Hot Spot ทั่วประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 91 จุด เกิดในพื้นที่เกษตรมากที่สุด จำนวน 53 จุด (ได้แก่ จ.พิจิตร 6 จุด จ.ลพบุรี 5จุด) รองลงมาได้แก่ พื้นที่ สปก. (จ.ฉะเชิงเทรา 5 จุด จ.ลพบุรี 4 จุด) โดยขอให้เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่เร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้เกษตรกรลดการเผา และต่อเนื่อง

•เป้าหมายลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมเทียบกับปีที่ผ่านมา มุ่งดำเนินงานในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ให้ลดพื้นที่การเผาลงร้อยละ 50 และพื้นที่เป้าหมายรอง ลดลงร้อยละ 10

•กษ.เสนอแนะแนวทางขับเคลื่อนระดับนโยบาย โดยอาศัยกลไกของคณะกรรมการ 2 คณะ ได้แก่ 1) คณะกรรมการขจัดปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน (พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน) และ 2) คณะกรรมการป้องกันและแก้ไชปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในภาคเกษตร (รมว.กษ. เป็นประธาน) ส่วนระดับปฏิบัติการมีคณะกรรมการ/ คณะทำงาน หลายคณะ โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก ขอให้มีการบูรณาการทุกหน่วยงานในจังหวัดร่วมดำเนินการด้วย โดยพิจารณาหารือในการแบ่งความรับผิดชอบทั้งในและนอกหน่วยงานสนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด อาทิ หน่วยงานระดับพื้นที่ในสังกัดกรมชลประทาน สปก. กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ

•มาตรการ ได้แก่ 1) ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และส่งเสริมการดำเนินงานตามภารกิจ 2) ปรับปรุงรูปแบบการผลิตและขยายการดำเนินการ อาทิ การส่งเสริมพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และทดแทนการนำเข้า เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว 3) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเพื่อความยั่งยืน เช่น การผลิตสินค้ามาตรฐาน GAP

•เน้นเชื่อมโยงมาตรการแก้ไขปัญหาการเผาของ ทส. ด้วยมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ และ กษ.ด้วยมาตรการลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม อาทิ การสำรวจเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมลดการเผา (กรมส่งเสริมการเกษตร) การรณรงค์ลดการเผาด้วยการไถกลบเพื่อย่อยสลายเศษวัสดุทางการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน) การดำเนินกิจกรรมภายใต้ 3R Model : Relize-Reactive-Recycle (กรมวิชาการเกษตร) ที่มีการ kick off แล้วที่จ.ปทุมธานี ฯลฯ

•กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งชุดปฏิบัติการ 3 มาตรการ “เจอ – จับ - ปรับ” เน้นไม่เผาในพื้นที่เกษตร ข้าว ข้าวโพด อ้อย โดยถ้า “เจอ” (เจอเป็นดับ) “จับ” (จับมือคุย) “ปรับ” (ปรับเปลี่ยนไม่เผา โดยชี้แจง สนับสนุนการปรับเปลี่ยน และจัดการแปลงหลังเก็บเกี่ยว)

•กษ. มอบหมาย สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด กำหนดกิจกรรมในพื้นที่เผา ทั้งในระดับจังหวัด /อำเภอ โดยใช้กลไก SCP, อพก. และจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน/ผลสำเร็จ เสนอ กษ. ทุกสัปดาห์ และหากพบจุดhot spot ต้องรายงานภายในเวลา 14.00 น. ของวันนั้น รวมทั้งรายงานร้อยละการลดลงของจุด hot spot จากช่วงที่ผ่านมา

•ทสจ. (ทส.) ใช้ดาวเทียมระบบเซนเซอร์เวียร์ (VIIRS) ในการตรวจวัดจุดความร้อน hot spot ซึ่งอาจทำให้การวัดรังสีสะท้อน แตกต่างกับสนง.กษ.จ. ที่ใช้ดาวเทียมระบบเซนเซอร์ MODIS ซึ่งผู้บริหารทั้งสองกระทรวงฯ จะหารือเรื่องนี้กันอีกครั้ง

ทั้งนี้ หน่วยงานในสังกัด กษ.จ.พิษณุโลก มีแผนดำเนินการ อาทิ 1) ทำปุ๋ยจากซังข้าวโพด ในพื้นที่แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โดยจะทำเป็นธนาคารปุ๋ย โดยสถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลกเป็นหน่วยงานดำเนินการหลัก 2) ชลประทานมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทั้ง 4 โครงการ 3) ขอให้ทุกหน่วยงานเน้นประชาสัมพันธ์เชิงรุกเรื่อง งดเผา

ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)


บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) | Firefox | Exploer 9+ | Safari