- หน้าแรก
- ข่าวผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวผู้บริหาร
รกท.ผอ.สศท.2 ร่วมประชุมรับมอบนโยบายแก้ปัญหาภัยแล้ง จ.ตาก จาก ผวจ.ตาก
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (รกท.ผอ.สศท.2) พร้อมด้วย นายชาติ เนาวพนานนท์ นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมรับมอบนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดตากจาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและผู้แทน รายงานสถานการณ์น้ำ พื้นที่เฝ้าระวังภัยแล้ง แนวทางการดำเนินของหน่วยงานระดับจังหวัดในปัจจุบัน
ในครั้งนี้ รกท.ผอ. สศท.2 ได้นำเสนอข้อมูลคาดการณ์ภาวะการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของจ.ตาก ว่า แนวโน้ม ปี 2567 มีสินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัดตากหลายชนิดที่คาดว่าจะมีผลผลิตลดลง (มันสำปะหลัง ข้าวนาปรัง ลำไย) ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ของเกษตร และGPP ภาคเกษตรของจังหวัด ดังนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการน้ำ และการเฝ้าระวังกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ควรเฝ้ากำกับติดตามสถานการณ์เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ยังคงพบหลายสินค้าเช่นกัน ที่มีการเพิ่มเนื้อที่ปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น2 และอ้อยโรงงาน) ซึ่งอาจมาพร้อมกับปัญหาหมอกควันไฟป่า จึงเสนอให้จังหวัดตากพิจารณาดำเนินโครงการทั้งสองรูปแบบคู่ขนานกันไป นั่นคือ โครงการแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และ โครงการการบริหารจัดการภัยแล้ง เพราะไฟป่า หรือการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในภาคเกษตรเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ผันผวนรุนแรงมากขึ้น เช่น ฝนทิ้งช่วง ภาวะแล้ง และอากาศร้อนจัด ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย เกษตรกรขาดทุนจากการผลิต นำไปสู่ความยากจนของเกษตรกร
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนทั้งสองโครงการควรเน้นบูรณาการหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัด กษ. ที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และพื้นที่เป้าหมายเดียวกัน เลือกจุดและระดมหน่วยงานลงพื้นที่ขับเคลื่อนด้วยกัน โดยแต่ละหน่วยสามารถทำงานร่วมกันภายใต้ภารกิจหน่วยงานตัวเองได้ อาทิ โครงการลดการเผาอ้อยโรงงาน ทั้งด้วยการอบรมให้ความรู้เรื่องการลดต้นทุนการผลิต การตรวจวิเคราะห์ดินและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะกับสภาพดิน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ และการอบรมเรื่องการจัดการผลผลิต หรือเศษวัสดุหลังการเก็บเกี่ยว ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่ สำหรับตัวอย่างโครงการในลักษณะดังกล่าว คือ โครงการของจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ โครงการฟางทองคำในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดลเพื่อผลการเผาตอซังข้าวช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่ ให้เป็นฟางก้อนป้อนกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์โดยมีการเชื่อมโยงตลาดไว้ (สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อน) และโครงการธนาคารข้าวโพดเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ในพื้นที่ สปก. อ.วังทอง (สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก) เป็นหน่วยหลักรับผิดชอบ โดยมุ่งให้เกษตรกรลดการเผาต้นข้าวโพดในพื้นที่สูงลุกลามเกิดเป็นไฟป่า โดย รกท.ผอ.สศท.ทิ้งท้ายว่า โครงการที่จะดำเนินการควรมีกิจกรรมด้านเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)
ในครั้งนี้ รกท.ผอ. สศท.2 ได้นำเสนอข้อมูลคาดการณ์ภาวะการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของจ.ตาก ว่า แนวโน้ม ปี 2567 มีสินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัดตากหลายชนิดที่คาดว่าจะมีผลผลิตลดลง (มันสำปะหลัง ข้าวนาปรัง ลำไย) ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ของเกษตร และGPP ภาคเกษตรของจังหวัด ดังนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการน้ำ และการเฝ้าระวังกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ควรเฝ้ากำกับติดตามสถานการณ์เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ยังคงพบหลายสินค้าเช่นกัน ที่มีการเพิ่มเนื้อที่ปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น2 และอ้อยโรงงาน) ซึ่งอาจมาพร้อมกับปัญหาหมอกควันไฟป่า จึงเสนอให้จังหวัดตากพิจารณาดำเนินโครงการทั้งสองรูปแบบคู่ขนานกันไป นั่นคือ โครงการแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และ โครงการการบริหารจัดการภัยแล้ง เพราะไฟป่า หรือการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในภาคเกษตรเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ผันผวนรุนแรงมากขึ้น เช่น ฝนทิ้งช่วง ภาวะแล้ง และอากาศร้อนจัด ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย เกษตรกรขาดทุนจากการผลิต นำไปสู่ความยากจนของเกษตรกร
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนทั้งสองโครงการควรเน้นบูรณาการหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัด กษ. ที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และพื้นที่เป้าหมายเดียวกัน เลือกจุดและระดมหน่วยงานลงพื้นที่ขับเคลื่อนด้วยกัน โดยแต่ละหน่วยสามารถทำงานร่วมกันภายใต้ภารกิจหน่วยงานตัวเองได้ อาทิ โครงการลดการเผาอ้อยโรงงาน ทั้งด้วยการอบรมให้ความรู้เรื่องการลดต้นทุนการผลิต การตรวจวิเคราะห์ดินและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะกับสภาพดิน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ และการอบรมเรื่องการจัดการผลผลิต หรือเศษวัสดุหลังการเก็บเกี่ยว ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่ สำหรับตัวอย่างโครงการในลักษณะดังกล่าว คือ โครงการของจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ โครงการฟางทองคำในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดลเพื่อผลการเผาตอซังข้าวช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่ ให้เป็นฟางก้อนป้อนกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์โดยมีการเชื่อมโยงตลาดไว้ (สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อน) และโครงการธนาคารข้าวโพดเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ในพื้นที่ สปก. อ.วังทอง (สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก) เป็นหน่วยหลักรับผิดชอบ โดยมุ่งให้เกษตรกรลดการเผาต้นข้าวโพดในพื้นที่สูงลุกลามเกิดเป็นไฟป่า โดย รกท.ผอ.สศท.ทิ้งท้ายว่า โครงการที่จะดำเนินการควรมีกิจกรรมด้านเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)