- หน้าแรก
- ข่าวผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวผู้บริหาร
ผอ.สศท.2 เข้าร่วมประชุม 2 คณะ ในจังหวัดแพร่
วันที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) ได้เข้าร่วมประชุม 2 คณะ ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัดแพร่ ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมจดหมายเหตุ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่โดยมี นายคุณากร คชหิรัญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุม
วัตถุประสงค์
- เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำ ความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการด้านเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด
- เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแพร่ (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
ในครั้งนี้ ผอ.สศท.2 ได้นำเสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ไตรมาส 2 ปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ของจังหวัดแพร่ ให้ที่ประชุมรับทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับภาวะการผลิต และบริหารจัดการสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. คณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2567 โดยมีดร.สุภาวรรณ เพ็ชรศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุม
วัตถุประสงค์
- เพื่อรับทราบสถานการณ์อุทกภัย และผลกระทบด้านการเกษตรของจังหวัด
- เพื่อพิจารณาแผนการเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด
มติที่ประชุม เห็นชอบให้หน่วยงานต่างๆในสังกัด กษ จ.แพร่ สนับสนุนปัจจัยการผลิตตามภารกิจกรม ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าว จำแนกการช่วยเหลือเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1)หากเกษตรกรมทำนาปรังอยู่แล้ว จะได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ตามที่แจ้งความประสงค์ไว้
2) หากเกษตรกรกรไม่ทำนาปรัง เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และแหล่งน้ำ จะได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อใช้ปลูกในฤดูนาปี เนื่องจากหากปลูกตอนนี้ ห้วงฤดูกาลไม่เอื้อ อาจเกิดภาวะชะงักของต้นข้าว ทำให้ไม่ได้ผลผลิต
เพื่อพิจารณาแผนการปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าว กรณีพื้นที่นาได้รับความเสียหายจากอุทกภัยลด มติที่ประชุม เห็นชอบให้หน่วยงานด้านพืช ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง เร่งสำรวจความเสียหาย และรวบรวมข้อมูลความต้องการพันธุ์พืช สัตว์ประมง ที่ถูกต้อง ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ซึ่งการพิจารณาเมล็ดพันธุ์ชนิดพืชที่จะปลูก ต้องดูความเพียงพอของแหล่งน้ำ และความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศตามฤดูกาลด้วย โดยเฉพาะพืชหลังนา จำพวกพืชตะกูลถั่ว ซึ่งถั่วเขียวอาจไม่เหมาะสมต่อการปลูกในช่วงปลายปี-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ควรเลือกปลูกถั่วเหลือง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงปัจจัยหรือสถานการณ์ด้านการตลาดของสินค้าแต่ละชนิดด้วย อาทิ ความต้องการ ราคาที่เกษตรกรขายได้ จุดรับซื้อในพื้นที่ ฯลฯ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก
1. คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัดแพร่ ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมจดหมายเหตุ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่โดยมี นายคุณากร คชหิรัญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุม
วัตถุประสงค์
- เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำ ความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการด้านเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด
- เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแพร่ (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
ในครั้งนี้ ผอ.สศท.2 ได้นำเสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ไตรมาส 2 ปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ของจังหวัดแพร่ ให้ที่ประชุมรับทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับภาวะการผลิต และบริหารจัดการสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. คณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2567 โดยมีดร.สุภาวรรณ เพ็ชรศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุม
วัตถุประสงค์
- เพื่อรับทราบสถานการณ์อุทกภัย และผลกระทบด้านการเกษตรของจังหวัด
- เพื่อพิจารณาแผนการเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด
มติที่ประชุม เห็นชอบให้หน่วยงานต่างๆในสังกัด กษ จ.แพร่ สนับสนุนปัจจัยการผลิตตามภารกิจกรม ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าว จำแนกการช่วยเหลือเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1)หากเกษตรกรมทำนาปรังอยู่แล้ว จะได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ตามที่แจ้งความประสงค์ไว้
2) หากเกษตรกรกรไม่ทำนาปรัง เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และแหล่งน้ำ จะได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อใช้ปลูกในฤดูนาปี เนื่องจากหากปลูกตอนนี้ ห้วงฤดูกาลไม่เอื้อ อาจเกิดภาวะชะงักของต้นข้าว ทำให้ไม่ได้ผลผลิต
เพื่อพิจารณาแผนการปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าว กรณีพื้นที่นาได้รับความเสียหายจากอุทกภัยลด มติที่ประชุม เห็นชอบให้หน่วยงานด้านพืช ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง เร่งสำรวจความเสียหาย และรวบรวมข้อมูลความต้องการพันธุ์พืช สัตว์ประมง ที่ถูกต้อง ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ซึ่งการพิจารณาเมล็ดพันธุ์ชนิดพืชที่จะปลูก ต้องดูความเพียงพอของแหล่งน้ำ และความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศตามฤดูกาลด้วย โดยเฉพาะพืชหลังนา จำพวกพืชตะกูลถั่ว ซึ่งถั่วเขียวอาจไม่เหมาะสมต่อการปลูกในช่วงปลายปี-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ควรเลือกปลูกถั่วเหลือง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงปัจจัยหรือสถานการณ์ด้านการตลาดของสินค้าแต่ละชนิดด้วย อาทิ ความต้องการ ราคาที่เกษตรกรขายได้ จุดรับซื้อในพื้นที่ ฯลฯ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก