- หน้าแรก
- ข่าวผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวผู้บริหาร
ผอ.สศท.2 ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองกับเกษตรกรปลูกฝรั่งไส้แดง พิษณุโลก
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2567 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก)พร้อมด้วยนักวิชาการในสังกัด สศท.2 ลงพื้นที่เยี่ยมชมและพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองข้อคิดเห็น กับทีมงานสำนักงานเกษตรอำเภอพรหมพิราม และ Young Smart Farmer พิษณุโลก : คุณโอ๋ ณัฐวรารินทร์ เม่งมั่งมี เกษตรกรผู้ปลูกฝรั่งไส้แดง หงเป่าสือ จำหน่ายกิ่งพันธุ์ และผลิตภัณฑ์แปรรูป อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
คุณโอ๋เชิญชวนเกษตรกรในพื้นที่หันมาผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง “ฝรั่งไส้แดง-หงเป่าสือ มาตรฐาน GAP” เดินตามตลาดนำการผลิต มุ่งขยายพื้นที่ และเพิ่มผลผลิต ก้าวสู่การเป็นแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนจากการสั่งซื้อปุ๋ยเคมีสูตรเฉพาะ/หายาก และสร้างอำนาจต่อรองด้านการผลิตตลาด
เกษตรกรต้องการให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เสนอแนะมุมมองต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจผลิตสินค้าที่มีศักยภาพด้านการผลิต การตลาด อาทิ มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเกษตรกรyoung smart farmer ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (การขยายขนาด การลดการร่วงของดอก การกำจัดโรคแอนแทรคโนส การตลาดต่างๆ ) การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเพื่อพัฒนาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ที่สามารถเข้าถึงการสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆได้
เดิม ทางกลุ่มฯประสงค์ขอรับเงินกู้จากกองทุน FTA สศก.เพื่อสนับสนุนต้นพันธุ์แก่สมาชิกกลุ่มที่สนใจแต่ขาดเงินลงทุน ซึ่ง สศท. 2 ได้ประสานสอบถามไปยังกองทุนฯ ทราบว่า ฝรั่ง เป็นชนิดสินค้าที่ไม่อยู่รายการสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ดังนั้นต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ
มุมมองและข้อเสนอแนะของ สศท. 2 แก่เกษตรกร
- ควรศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพ อาทิ การเพิ่มขนาดของผล การเพิ่มน้ำหนักผล การทำผิวสวย การสร้างไส้สีแดงสด และการทำให้มีรสชาติหวานกรอบ จากสื่อออนไลน์ต่างๆ /เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตฝรั่งสายพันธุ์ดังกล่าว / หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่ โดยอาจขอเป็นแปลงทดลอง/สาธิตในงานวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้มีแปลงฝรั่งต้นแบบเพื่อศึกษาเรียนรู้ และจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูก ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เอื้อต่อการจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ในอนาคต
- ควรใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการผลิตแต่ละระยะ เพื่อสร้าง Demand แก่เกษตรกรที่สนใจผลิต และกลุ่มผู้บริโภค
- ควรมุ่งเป้าส่งเสริมแก่เกษตรกรภายใต้โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็น
เกษตรกรที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างปัจจัยพื้นฐาน อาทิ แหล่งน้ำบ่อ สระ ในไร่นา รองลงมา เป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะเอื้อต่อการบริหารจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว (ลดค่าใช้จ่าย ลดความเสียหาย ลดเวลา)
ภาพ/ข่าว: คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก
คุณโอ๋เชิญชวนเกษตรกรในพื้นที่หันมาผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง “ฝรั่งไส้แดง-หงเป่าสือ มาตรฐาน GAP” เดินตามตลาดนำการผลิต มุ่งขยายพื้นที่ และเพิ่มผลผลิต ก้าวสู่การเป็นแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนจากการสั่งซื้อปุ๋ยเคมีสูตรเฉพาะ/หายาก และสร้างอำนาจต่อรองด้านการผลิตตลาด
เกษตรกรต้องการให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เสนอแนะมุมมองต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจผลิตสินค้าที่มีศักยภาพด้านการผลิต การตลาด อาทิ มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเกษตรกรyoung smart farmer ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (การขยายขนาด การลดการร่วงของดอก การกำจัดโรคแอนแทรคโนส การตลาดต่างๆ ) การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเพื่อพัฒนาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ที่สามารถเข้าถึงการสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆได้
เดิม ทางกลุ่มฯประสงค์ขอรับเงินกู้จากกองทุน FTA สศก.เพื่อสนับสนุนต้นพันธุ์แก่สมาชิกกลุ่มที่สนใจแต่ขาดเงินลงทุน ซึ่ง สศท. 2 ได้ประสานสอบถามไปยังกองทุนฯ ทราบว่า ฝรั่ง เป็นชนิดสินค้าที่ไม่อยู่รายการสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ดังนั้นต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ
มุมมองและข้อเสนอแนะของ สศท. 2 แก่เกษตรกร
- ควรศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพ อาทิ การเพิ่มขนาดของผล การเพิ่มน้ำหนักผล การทำผิวสวย การสร้างไส้สีแดงสด และการทำให้มีรสชาติหวานกรอบ จากสื่อออนไลน์ต่างๆ /เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตฝรั่งสายพันธุ์ดังกล่าว / หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่ โดยอาจขอเป็นแปลงทดลอง/สาธิตในงานวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้มีแปลงฝรั่งต้นแบบเพื่อศึกษาเรียนรู้ และจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูก ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เอื้อต่อการจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ในอนาคต
- ควรใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการผลิตแต่ละระยะ เพื่อสร้าง Demand แก่เกษตรกรที่สนใจผลิต และกลุ่มผู้บริโภค
- ควรมุ่งเป้าส่งเสริมแก่เกษตรกรภายใต้โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็น
เกษตรกรที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างปัจจัยพื้นฐาน อาทิ แหล่งน้ำบ่อ สระ ในไร่นา รองลงมา เป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะเอื้อต่อการบริหารจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว (ลดค่าใช้จ่าย ลดความเสียหาย ลดเวลา)
ภาพ/ข่าว: คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก